ข้ามไปหน้าหลัก
ความต่อเนื่องทางธุรกิจ

5 ขั้นตอนในการสร้างแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

08/2022
close up of chess pieces

ธุรกิจของคุณจะมีความยืดหยุ่นแค่ไหนเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น

สำหรับธุรกิจในศตวรรษที่ 21 มีการนิยาม “worst-case scenario” ด้วยความหมายใหม่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดสภาพอากาศที่เลวร้ายและไฟป่าที่เป็นอันตรายต่ออาคารและพนักงาน อีกทั้งยังมีการละเมิดทางไซเบอร์ โรคระบาด การจู่โจมของผู้ก่อการร้ายและกระทั่งสงครามด้วยเช่นกัน เห็นได้ชัดว่าหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและในประเทศซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นกำลังคุกคามบริษัทหลายแห่งอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ปัจจุบันนี้ แม้กระทั่งปัญหาเล็กน้อยทางด้านวิศวกรรมก็อาจก่อให้เกิดผลร้ายแรงต่อห่วงโซ่อุปทานได้หากปัญหาการผลิตนั้นทำให้ชิ้นส่วนสำคัญถูกส่งมอบล่าช้า

นอกจากนี้ ภัยพิบัติยังก่อให้เกิดการหยุดทำงานซึ่งสามารถส่งผลให้สูญเสียรายได้รายวันอย่างมาก ธุรกิจของคุณแบกรับการหยุดชะงักได้นานแค่ไหนกัน ธุรกิจของคุณพร้อมแค่ไหนที่จะรับมือหรือฟื้นตัวเต็มที่จากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้

ไม่ว่าภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร  - สภาพอากาศที่เลวร้าย วิกฤตด้านสุขภาพทั่วโลก หรือเครื่องมือชำรุดเสียหาย ผู้จัดการความเสี่ยงอย่างชับบ์จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าธุรกิจของคุณจะฟื้นตัวได้ เพียงแค่คุณต้องมีแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

 

แผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องคืออะไร

แผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (หรือ BCP) คือชุดการดำเนินงานที่บันทึกไว้เป็นเอกสารโดยเฉพาะซึ่งจะนำมาปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นการอพยพฉุกเฉิน การละเมิดทางไซเบอร์หรืออื่นๆ

BCP ช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณจะเรียกใช้งานแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน กระบวนการขั้นตอน รายชื่อผู้ติดต่อและข้อมูลอื่น ๆ ได้ทันทีด้วยปลายนิ้วมือเมื่อได้รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ซึ่งแผนนี้ออกแบบมาเพื่อ

 

  • ให้คุณดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน เพื่อปกป้องพนักงานและการดำเนินธุรกิจระหว่างเกิด
    เหตุฉุกเฉิน
  • ให้แน่ใจได้ว่าธุรกิจของคุณสามารถดำเนินการต่อไปได้ พร้อมทั้งตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ
  • ให้บริษัทมีกรอบการทำงานเพื่อการฟื้นตัวด้านการดำเนินงานและการเงินอย่างสมบูรณ์

 

ประโยชน์ของการมีแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องคืออะไร

ตอบได้ง่ายมาก: การวางแผน = ความยืดหยุ่น

บริษัทที่มี BCP อยู่แล้วจะมีโอกาสมากในการบรรเทาและอยู่รอดจากผลกระทบของเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคล อาคารสถานที่ รวมถึงด้านการเงิน โดยจะช่วยลดอันตรายต่อพนักงานเพื่อให้ดำเนินงานต่อไปได้ ปกป้องรายได้ของบริษัท ชื่อเสียงและความได้เปรียบในการแข่งขันพร้อมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูได้

 

แผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง 5 ขั้นตอน

  1. วางรากฐานที่ดีให้กับแผน BCP ของคุณ

    องค์ประกอบต่อไปนี้จะช่วยให้แน่ใจว่าคุณนำ BCP ไปใช้อย่างถูกต้อง

    • สร้างความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูง 
      ทำให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจถึงประโยชน์ของการมี BCP และให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อช่วยคุณดำเนินการ
    • กำหนดผู้นำ 
      บุคคลนี้จะเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลกระบวนการพัฒนาแผน
    • ทีมงานหลักที่หลากหลาย 
      รวบรวมตัวแทนจากแต่ละสาขาธุรกิจที่สำคัญ เช่น ฝ่ายผลิต ไอที ทรัพยากรบุคคล การตลาด/การสื่อสาร การควบคุมคุณภาพ การจัดการความเสี่ยงและการเงิน ผู้จำหน่ายและซัพพลายเออร์รายสำคัญก็สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้เช่นกัน
  2. ดำเนินการประเมินความเสี่ยงและวางแผนบรรเทาผลกระทบ

    เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของคุณมีความเฉพาะตัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระบุและจัดอันดับทั้งความเสี่ยงทั่วไปและอันตรายร้ายแรงซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำลายความแข็งแกร่งของบริษัทของคุณให้ได้มากที่สุด

    ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นแต่ละครั้งมีข้อควรพิจารณาหลายประการ ตัวอย่างเช่น หากโรงงานมีการใช้วัสดุทไวไฟหรือตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงพายุทอร์นาโด การเลือกพื้นที่สร้างโรงงานก็เป็นสิ่งสำคัญ หากธุรกิจของคุณต้องใช้ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวของลูกค้า

    ก็ควรให้ความสำคัญกับการละเมิดทางไซเบอร์เป็นอย่างยิ่ง และอื่น ๆ

    หลังจากประเมินอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็ถึงเวลาทำแผนฉุกเฉินเพื่อลดความเสี่ยงหลักๆ ของคุณให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ แผนฉุกเฉินนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ ซึ่งแผนนั้นอาจเป็นการเก็บสำเนาเอกสารสำรองไว้นอกสถานที่ การหาผู้ขายสำรองในส่วนการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ หรือการกำหนดกระบวนการในการย้ายการผลิตทั้งหมด

  3. สร้างกระบวนการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน

    คุณจะทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวหรือถูกข่มขู่วางระเบิด ก่อนที่สถานการณ์ที่คุกคามชีวิตหรือสุขภาพจะเกิดขึ้น ให้เตรียมแผนการรับมือเหตุฉุกเฉินที่สำคัญเหล่านี้ไว้ให้พร้อม

    • ช่องทางการสื่อสารของพนักงาน 
      มอบหมายงานให้ผู้นำและมั่นใจว่าพนักงานทุกคนเข้าใจขั้นตอนการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน
    • แผนการอพยพ 
      ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีพื้นที่ถูกขวาง ดูว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการรักษา
      ความปลอดภัยเพิ่มเติมหรือไม่
    • การฝึกอบรม 
      ฝึกซ้อมเป็นประจำเพื่อเตรียมความพร้อมให้พนักงาน ประเมินและปรับปรุงเวลาที่ใช้ต่อการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินด้วย
  4. ร่างขั้นตอนในการฟื้นฟู

    กำหนดรายละเอียดส่วนงานที่สำคัญของบริษัทและระบุสิ่งที่จำเป็นในการฟื้นฟูสำหรับแผนกต่าง ๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต และฝ่ายปฏิบัติการให้อยู่ในระดับก่อนเกิดเหตุฉุกเฉิน

    ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีแผนทางการเงินรองรับขั้นตอนเหล่านี้ รวมถึงข้อกำหนดด้านงบประมาณในการฟื้นฟูและรายการสินทรัพย์ที่มีอยู่ (เช่น กองทุนฉุกเฉิน วงเงินสินเชื่อที่มีหลักประกัน และกรมธรรม์ประกันภัย)

  5. นำแนวทางในการวางแผนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาใช้

    ธุรกิจของคุณและเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นนั้นไม่ใช่สิ่งที่คงที่ ดังนั้น BCP ของคุณก็ไม่ควรเป็นอย่างนั้นเช่นกัน คุณต้องทบทวนและปรับปรุงแผนของคุณอย่างสม่ำเสมอ

    เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของ BCP ที่ครอบคลุมต่อการอยู่รอดและการฟื้นตัวหลังภัยพิบัติของบริษัทแล้ว เวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาคือเมื่อคุณเริ่มต้นธุรกิจ และทำเลยวันนี้คือดีที่สุด

    การสร้าง BCP เป็นกระบวนการที่มีหลายแง่มุมที่ต้องอาศัยความใส่ใจและทรัพยากรองค์กร สำหรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับ

    การวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินธุรกิจของคุณอย่างต่อเนื่องนั้น เราขอเสนอคู่มือการวางแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่ครอบคลุมให้แก่คุณ เราได้จัดเตรียมเครื่องมือและทรัพยากรในการจัดการความเสี่ยงที่ปรับให้เข้ากับอันตรายทางธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงและเกี่ยวข้องกับคุณมากที่สุด เช่น น้ำท่วมเนื่องจากรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความล้มเหลวของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่าง ๆ (Internet of Things) หรือการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดจากภัยธรรมชาติ

    การระบาดใหญ่ของโรคและความไม่สงบที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรง การวางแผนและจัดทำเอกสารแนวทางปฏิบัติอย่างเหมาะสมจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าธุรกิจของคุณจะมีความยืดหยุ่นได้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน

    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อฝ่ายบริการด้านวิศวกรรมความเสี่ยงของชับบ์

     

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

ให้ชับบ์ปกป้องดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเราเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ