เมื่อสินค้าที่เอาประกันภัยเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย
ซึ่งกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยหรือตัวแทนของบริษัทประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ทันที เพื่อทำการสำรวจตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
ปกป้องสิทธิในการไล่เบี้ยต่อผู้กระทำละเมิด เช่นผู้รับขนส่งทุกๆทอด โดย
1. ทำหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายไปยังผู้รับขนส่งเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบตราส่ง ให้ผู้รับขนส่งชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ขณะที่สินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งนั้น
2. ร้องขอรายงานการสำรวจความเสียหายต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน และเอกสารกำกับ ในการเรียกร้อง ต่อผู้กระทำละเมิดต่อไป เช่น รายงานสำรวจความเสียหายของการท่าเรือ แบบแสดงรายการสินค้าขาด สินค้าเกินของการท่าเรือ แบบแสดงรายการสินค้าเสียหาย เป็นต้น
3. ร้องขอให้มีการสำรวจความเสียหายร่วมกัน ระหว่างผู้ขนส่ง การท่าเรือและผู้เอาประกันภัย พร้อมทั้งขอรายงานนั้นด้วย พร้อมโดยทำเป็นหนังสือเรียกร้องให้ผู้รับขนส่งชดใช้ในความเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะที่สินค้า อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งนั้น
4. ต้องไม่เซ็นต์ชื่อในใบรับของ หากสงสัยว่าสินค้าอาจมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น พบว่าบรรจุภัณฑ์มีร่องรอย บุบ แตกร้าว หรือมีรอยขีดข่วน ควรตรวจดูความผิดปกติและทำการเปิดดูว่าเกิดความเสียหายจริงหรือไม่ หากพบว่าเสียหายให้เขียนบันทึกรายการความเสียหายที่ตรวจพบลงในใบรับสินค้านั้นด้วย
การป้องกันไม่ให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วนั้นลุกลามเพิ่มเติม
ผู้เอาประกันภัยควรดำเนินการตามสมควรเพื่อหยุดความเสียหายไม่ให้ลุกลามเพิ่มเติม เช่น กรณีที่พบว่าสินค้าเปียกน้ำเพียงบางส่วน ก็ให้รีบทำการแยกสินค้าที่เปียกออกจากสินค้าที่แห้ง แล้วทำการตากหรือ ผึ่งให้แห้งต่อไป ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินการตามสมควรเช่นว่า นี้สามารถเรียกร้องจากบริษัทได้ รวมทั้งรักษาสภาพสินค้าที่เสียหายแล้วนั้น ให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เช่นเก็บรักษาไว้ในโรงเก็บสินค้า โดยไม่ทิ้งไว้กลางแจ้ง เป็นต้น
เอกสารที่จำเป็นสำหรับประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กรณีขนส่งระหว่างประเทศ โดยทางเรือ ทางอากาศหรือทางไปรษณีย์
1. หนังสือเรียกร้องความเสียหายถึงบริษัทรับประกันภัย ( Claim Note)
2. หนังสือแจ้งความเสียหายถึงผู้ขนส่ง หรือผู้กระทำความเสียหายให้กับสินค้า (Notice to Carrier / Notice of Claim)
3. ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัย หรือใบรับรองการเอาประกันภัย (Original Marine Cargo Policy / Insurance Certificate)
4. ใบตราส่งสินค้าทางเรือ หรือทางเครื่องบิน (Bill of Lading or Airway Bill)
5. ใบกำกับราคาสินค้า (Invoice)
6. ใบแสดงน้ำหนักของสินค้า (Packing List)
7. รายงานการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่เสียหาย (QC report or NG report)
8. ใบรับสินค้าระบุความเสียหาย (Delivery Order )
9. รูปถ่ายสินค้า หรือหีบห่อที่เสียหาย
10. ใบสำรวจความเสียหายจากท่าเรือ หรือสายการบิน (ถ้ามี) (Wharf Survey Note or DMC)
11. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามสาเหตุความสูญเสีย/ความเสียหายที่เกิดขึ้น
เอกสารที่จำเป็นสำหรับประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีขนส่งภายในประเทศ
1. ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัย
2. ใบส่งของจากผู้รับขนส่ง และ/หรือใบกำกับสินค้า หรือใบส่งมอบอื่นๆ ที่เป็นมาตรฐานต้นฉบับ
3. สำเนารายงานประจำวันจากสถานีตำรวจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือเอกสารที่แสดงความรับผิดของผู้รับขนส่ง หรือคู่กรณีสำหรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
4. สำเนาทะเบียนรถ สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องของรถยนต์คันที่เกิดอุบัติเหตุ และคันคู่กรณี
5. ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินของผู้รับขนส่ง และสัญญาว่าจ้างการขนส่ง
6. หนังสือเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งมีการระบุจำนวนความเสียหาย
7. สำเนาหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับขนส่ง พร้อมหนังสือตอบรับของผู้รับขนส่ง สำหรับความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น
ระยะเวลาในการพิจารณาและชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทน
ประเภทกรมธรรม์
1. กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
2. กรมธรรม์ประกันเบ็ดเตล็ดทุกประเภท(ไม่รวมกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ)
วิธีการแจ้งเหตุ การสูญเสียหรือความเสียหาย
1. เมื่อเกิดการสูญเสียหรือความเสียหายภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันจำเป็นต้องรีบแจ้งเหตุให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า ในทันทีที่ผู้เอาประกันภัยสามารถจะกระทำได้
2. กรณีที่มีการสูญเสียหรือความเสียหายเป็นเหตุจากการโจรกรรม จะต้องทำการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งขอคัดสำเนารายงานบันทึกประจำวันตำรวจเพื่อนำมาแสดงให้บริษัทประกอบการพิจารณาต่อไป
การดูแลรักษาทรัพย์สินที่เกิดความเสียหาย
ผู้เอาประกันควรดำเนินการถ่ายรูปทรัพย์สินที่เสียหายก่อนทำการซ่อมแซม เพื่อบรรเทาการสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ผู้เอาประกันต้องดูแลรักษาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้คงสภาพเดิมมากที่สุด ให้ผู้สำรวจภัย/ ผู้ประเมินค่าสินไหมทดแทนของบริษัท เข้าสำรวจจะได้พบเห็นความเสียหายดังกล่าว กรณีที่มีการสูญเสียหรือความเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย อันมีสาเหตุมาจากการกระทำของบุคคลภายนอก บริษัทฯขอแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยส่งหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายไปยังบุคคลภายนอกนั้นๆ พร้อมกับส่งสำเนาฉบับดังกล่าวให้กับบริษัทฯ
การดำเนินการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนทรัพย์สินที่เสียหาย
1. ผู้เอาประกันภัยต้องจัดส่งใบเสนอราคาค่าซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย ให้บริษัทฯ ได้รับทราบและนำไปพิจารณา ก่อนอนุมัติให้ดำเนินการสั่งซื้อหรือสั่งซ่อม
2. แต่หากมีความจำเป็น ผู้เอาประกันภัยสามารถดำเนินการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อเนื่องหรือความเสียหายเพิ่มเติม ที่อาจเกิดขึ้น
การสำรวจความเสียหายจากภัยที่เกิดขิ้น
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเข้าสำรวจภัยความเสียหายอย่างละเอียดครบถ้วน บริษัทอาจเข้าสำรวจเองหรือมอบหมายให้ ผู้สำรวจภัย/ ผู้ประเมิน ความเสียหาย โทรศัพท์นัดหมายกับผู้เอาประกันภัยเพื่อเข้าสำรวจความเสียหาย ตามวันและเวลาที่ผู้เอาประกันภัยสะดวก
การจัดเตรียมเอกสารเพื่อใช้ในการเรียงร้องค่าสินไหมทดแทน
เพื่อทำให้การพิจารณาค่าสินไหมทดแทน รวดเร็วมากขึ้น และมีการสรุปค่าสินไหมทดแทนที่ถูกต้อง ครบถ้วน ราบรื่น บริษัทฯ ใคร่ขอให้ผู้เอาประกันภัย จัดเตรียมเอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้กับบริษัทฯ และ/ หรือ ผู้สำรวจภัย/ ผู้ประเมินค่าสินไหมทดแทน ดังต่อไปนี้
1. เอกสารการแจ้งความเสียหาย
2. รายงานอุบัติเหตุ พร้อมถ่ายภาพทรัพย์สินที่เสียหาย
3. รายการค่าเสียหายและราคาแต่ละรายการ พร้อมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเสร็จที่ซื้อสินค้า ใบรับประกันสินค้า คู่มือการใช้สินค้า บอกยี่ห้อและรุ่น ของใช้ที่เสียหาย
4. คัดสำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ ในท้องที่ที่เกิดเหตุ
5. หนังสือเรียกร้องค่าเสียหาย จากคู่กรณีของท่าน (หากมี) สำเนาหนังสือ ที่ผู้เอาประกันทำขึ้นเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายไปยังบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาในการพิจารณาและชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทน
หมายเหตุ:
แนวทางการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนข้างต้น เป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไป สำหรับผู้เอาประกัน และบริษัทฯ ในเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนของบริษัท ขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์แต่ละฉบับ ในแต่ละประเภทที่มีผลใช้บังคับในขณะที่เกิดความเสียหาย และบริษัทอาจขอข้อมูลเพิ่มเติม และ/ หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง จากที่ระบุไว้ หากมีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณา