ข้ามไปหน้าหลัก
ประกันชีวิต

6 กองทุนที่เป็นหลักประกันชีวิตในวัยเกษียณ

09/2024
guy in front of the window


ในขณะที่ยังทำงานและมีรายได้อยู่ ได้คิดวางแผนเรื่องการเงินสำหรับวันที่จะเกษียณแล้วหรือยัง? ในตอนทำงานหลายคนอาจจะเหนื่อยและเครียดกับงานมาแล้ว แต่พอเมื่อถึงวันที่เกษียณแล้วจริงๆ รายได้ที่เคยได้รับจากการทำงานก็หยุดลงเช่นกัน หากมีเงินไม่เพียงพอดำรงชีวิตในอนาคตก็คงไม่ดีแน่ ฉะนั้นการวางแผนสร้างสินทรัพย์ เก็บออม และลงทุนในเครื่องมือทางการเงินชนิดต่างๆ ที่สามารถกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน บทความนี้จะพาไปรู้จักกับ 6 กองทุนวัยเกษียณที่มีความสำคัญในการวางแผนเกษียณ
 

6 กองทุนเพื่อการเกษียณอายุ

1. กองทุนประกันสังคม

กองทุนประกันสังคม เป็นกองทุนที่รัฐบาลไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ โดยใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฝ่ายละเท่า ๆ กัน โดยเงินสมทบที่ได้มาจะถูกนำไปจัดตั้งเป็นกองทุนและนำไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน จุดประสงค์ของกองทุนประกันสังคม เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประกันตนในกรณีชราภาพ พิการ ทุพพลภาพ เสียชีวิต ว่างงาน คลอดบุตร และกรณีอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดย สิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม เงินบำนาญชราภาพ เงินทดแทนการสูญเสียอวัยวะ เงินชดเชยทุพพลภาพ เงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต เงินทดแทนการเสียชีวิต เงินสงเคราะห์กรณีว่างงาน เงินช่วยเหลือคลอดบุตร และ การรักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วย
 

2. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปสามารถออมเงินเพื่อการเกษียณอายุได้ โดยไม่ต้องมีนายจ้างหรืออยู่ในระบบประกันสังคม จุดประสงค์ของกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีวินัยในการออมเงิน เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายเงินบำนาญให้แก่สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ ส่วนสิทธิประโยชน์ของกองทุนการออมแห่งชาติ การส่งเงินสะสมของสมาชิกจะต้องสะสมไม่น้อยกว่า 50 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกินกว่า 13,200 บาทต่อปี เมื่อสมาชิกส่งเงินสะสมรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ตามอายุของสมาชิก คือ

● อายุ 15-30 ปี ได้เงินสมทบ 50% ของเงินสะสม สมทบสูงสุด 600 บาทต่อปี

● อายุ 31-50 ปี ได้เงินสมทบ 80% ของเงินสะสม สมทบสูงสุด 960 บาทต่อปี

● อายุ 51 ปีขึ้นไป ได้เงินสมทบ 100% ของเงินสะสม สมทบสูงสุด 1,200 บาทต่อปี

โดยสมาชิกจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยจำนวนเงินบำนาญจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ
 

3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันให้กับลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ โดยลูกจ้างจะถูกหักเงินจากเงินเดือนของตัวเองเพื่อนำไปส่งเข้ากองทุนเป็น เงินสะสม ส่วนนายจ้างจะออกเป็น เงินสมทบ ให้กับลูกจ้าง โดยนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวน 2-15% ของเงินค่าจ้าง

ทั้งเงินสะสมและเงินสมทบจะถูกนำไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับสมาชิก สุดท้ายสมาชิกก็จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากการลงทุน เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ

ข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

● สร้างวินัยการออม: การหักเงินเดือนส่วนหนึ่งเพื่อนำไปส่งเข้ากองทุน ช่วยสร้างวินัยการออมเงินระยะยาวให้กับลูกจ้าง

● นายจ้างช่วยออม: นายจ้างมีส่วนช่วยในการออมเงินให้กับลูกจ้างโดยการสมทบเพิ่มเติม

● ผลตอบแทนดี: เงินในกองทุนจะถูกนำไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน ซึ่งผลตอบแทนที่ได้อาจจะดีกว่าการฝากเงินเฉย ๆ

● สิทธิประโยชน์ทางภาษี: สมาชิกสามารถนำเงินสะสมและผลประโยชน์จากการลงทุนไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้

● สภาพคล่อง: สมาชิกสามารถขอถอนเงินบางส่วนออกจากกองทุนได้ก่อนเกษียณอายุ ในกรณีฉุกเฉิน
 

4. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) เปรียบเสมือนผู้ช่วยสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพ กองทุนประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองเป้าหมายการเกษียณอายุโดยเฉพาะ โดยมีจุดเด่นหลัก ดังนี้

● สนับสนุนให้มีการออมเงินระยะยาว: RMF มุ่งเน้นให้ลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างวินัยการออม โดยผู้ลงทุนต้องลงทุนอย่างน้อยปีเว้นปี และต้องลงทุนต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี

● ลดหย่อนภาษีเงินได้: เงินที่ลงทุนใน RMF นั้น สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี

● ผลตอบแทนปลอดภาษี: เมื่อครบอายุ 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินที่ไถ่ถอนจาก RMF นั้น นักลงทุนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

● มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย: RMF มีนโยบายการลงทุนให้เลือกมากมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่รับได้

● เริ่มต้นลงทุนได้ง่าย: RMF นั้นไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน สามารถเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินจำนวนเท่าไหร่ก็ได้

อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจลงทุนนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เปรียบเทียบนโยบายการลงทุนของกองทุน RMF แต่ละกองทุน และพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
 

5. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Funds : SSF) เป็นกองทุนที่รัฐบาลอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวให้กับประชาชน สามารถลงทุนในกองทุนรวมได้ทุกประเภทไม่กำหนดว่าต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ (เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อมีระยะเวลาครบ 10 ปีเป็นต้นไปเท่านั้น สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน SSF
ได้ระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2567
 

6. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

● สนับสนุนการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังภาครัฐที่ดี
● จัดสรรงบประมาณรองรับภาระรายจ่ายด้านบำเหน็จบำนาญ อย่างเหมาะสม
● ส่งเสริมให้ข้าราชการสมาชิกมีเงินออมเพียงพอ สำหรับชีวิตหลังเกษียณ

ปัจจุบัน กบข. มีสมาชิกมากกว่า 1 ล้านคน และเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากภาครัฐและประชาชนกบข. คือ ระบบออมเงินเพื่อเกษียณอายุสำหรับข้าราชการ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 สมาชิก กบข. จะต้องหักเงินเดือนส่งเข้ากองทุน 3% และ รัฐจะสมทบให้อีก 3% ซึ่งถือเป็นสวัสดิการข้าราชการอย่างหนึ่ง

โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ

1. เป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ

2. ส่งเสริมการออมทรัพย์ ของสมาชิก

3. จัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่น ให้แก่สมาชิก เมื่อสมาชิก กบข. เกษียณอายุจะได้รับเงิน 2 ส่วน คือ

● เงินบำเหน็จบำนาญ คำนวณจากเงินเดือนและระยะเวลาการทำงาน
● เงินก้อน จากเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารเงิน กบข. บริหารงานโดยคณะกรรมการกองทุน ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน กำกับดูแลการจัดการกองทุน และกำหนดนโยบายการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงต่าง ๆ
 

นอกจากกองทุนเกษียณอายุทั้ง 6 ประเภทที่กล่าวมา จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณอายุแล้ว วันนี้จึงอยากแนะนำว่าควรแบ่งการออมเงินไว้กับ เครื่องมือทางการเงินอีกประเภทที่สามารถมอบผลตอบแทนที่แน่นอน ช่วยให้สามารถวางแผนทางการเงินได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเปรียบเสมือนแหล่งเงินออมที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนประเภทอื่นได้อีกด้วย

ขอแนะนำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เอ็กซ์ตร้าที่มอบความคุ้มครองชีวิตตลอดชีพและเงินคืนต่อเนื่องตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์แรก พร้อมเงินคืนที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ตั้งแต่อายุครบ 61- 89 ปี เพื่อไว้ใช้ยามเกษียณและยังเป็นหลักประกันที่มั่นคงสำหรับคนที่คุณรัก หากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น

หมายเหตุ: ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

● คุ้มค่า ด้วยเงินคืนรายปีต่อเนื่องตลอดสัญญา และรับเงินคืนเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่ออายุครบ 61-89 ปี
○ ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 จนถึงสิ้นปีกรมธรรม์ที่มีอายุครบ 60 ปี รับเงินคืนปีละ 2.25%*
○ ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่มีอายุครบ 61 ปี รับเงินคืนปีละ 10%* และเงินคืนจะเพิ่มสูงขึ้นอีกทุกปี ปีละ 0.5%* จนถึงสิ้นปีกรมธรรม์ที่มีอายุครบ 89 ปี ซึ่งจะได้รับเงินคืนสูงถึง 24%* รวมรับเงินคืนสูงสุด 493%*

● เพิ่มค่า เลือกสะสมเงินคืนไว้กับบริษัทฯ โดยได้รับดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 2% ต่อปี
● แน่นอน รับเงินครบกำหนดสัญญา 100%* ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่มีอายุครบ 90 ปี
● หมดห่วง ด้วยความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต แทนความห่วงใยส่งต่อให้คนที่คุณรัก
● ลดหย่อนภาษีได้ เบี้ยประกันภัยสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
 

*% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย  

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ