ยอมรับกันตามตรง ว่าความโกรธ มันเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกหงุดหงิด แน่นหน้าอก หรืออยากจะตะโกน (หรือแม้แต่รุนแรงกว่านั้น) แต่การปล่อยให้ความโกรธควบคุมอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ ประสิทธิภาพในการทำงาน และแม้กระทั่งสุขภาพของตัวเอง บทความนี้ขอเสนอ 6 เทคนิค ช่วยให้ควบคุมจัดการกับความโกรธได้อย่างมีประสิทธิภาพ แค่นำไปปรับใช้ เมื่อรู้สึกโกรธ รับรองว่าจะสามารถจัดการกับอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้นอย่างแน่นอน
ความโกรธ เป็นอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อรู้สึกหงุดหงิด ไม่พอใจ เจ็บปวด หรือผิดหวัง เป็นอารมณ์ปกติที่ทุกคนสามารถรู้สึกได้ แต่หากไม่สามารถควบคุมความโกรธได้ ก็อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ
ความโกรธ เป็นอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อรู้สึกหงุดหงิด ไม่พอใจ เจ็บปวด หรือผิดหวัง เป็นอารมณ์ปกติที่ทุกคนสามารถรู้สึกได้ แต่หากไม่สามารถควบคุมความโกรธได้ ก็อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ
ความโกรธเป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ แต่หากไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลเสียต่อทั้งตัวเองและผู้อื่น ดังนี้
● ปัญหาสุขภาพ: ความโกรธเรื้อรังส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบย่อยอาหาร ทำให้เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคกระเพาะอาหาร
● ปัญหาการทำงาน: ความโกรธอาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาด ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งสูญเสียงาน
● ปัญหาความสัมพันธ์: ความโกรธอาจทำให้ทะเลาะกับคนรอบข้าง เสียความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อนฝูง และชีวิตคู่
● ปัญหาคุณภาพชีวิต: ความโกรธทำให้รู้สึกเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม
มีหลายปัจจัยที่ทำให้บางคนโกรธง่าย ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการป่วย หรือสาเหตุอื่นอย่างนิสัยและทัศนคติเดิม ดังนี้
● ความผิดปกติของสมองบางส่วน: เช่น บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า หรือ prefrontal cortex
เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม หากเกิดความผิดปกติหรือเสียหายที่บริเวณนี้ อาจส่งผลให้มีปัญหาในการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึก เช่น ความโกรธ
● การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: เช่น เทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือ ฮอร์โมนเพศชาย อาจส่งผลต่ออารมณ์ความโกรธได้ แม้ว่าจะเรียกว่าฮอร์โมนเพศชาย แต่เทสโทสโรน ก็มีในผู้หญิงด้วยเช่นกัน หากมีฮอร์โมนเทสโทสโรนน้อยเกินไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้
● ประสบการณ์ในวัยเด็ก: เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีความรุนแรง มีโอกาสโกรธง่ายกว่าเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่อบอุ่น
● ความเครียด: ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่ออารมณ์ความโกรธ
● ปัญหาสุขภาพจิต: โรคทางจิตบางประเภท เช่น โรคไบโพลาร์ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล อาจทำให้มีแนวโน้มที่จะโกรธง่าย
● การดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดบางชนิด: อาจทำให้มีแนวโน้มที่จะโกรธง่าย
ความโกรธมักเกิดจากหัวใจเต้นเร็ว และหายใจตื้น ๆ ลองใช้เวลาสักสองสามนาที เพื่อฝึกการหายใจเข้าลึก ๆ โฟกัสที่การสูดหายใจเข้าช้า ๆ และหายใจออกจนหมด วิธีนี้สามารถช่วยให้ระบบประสาทสงบลง และควบคุมอารมณ์ตนเองได้อีกครั้ง
บางครั้งการเปลี่ยนมุมมองเพียงเล็กน้อย ก็สามารถลดทอนความโกรธได้ ลองถามตัวเองว่า "สถานการณ์นี้ คุ้มค่าที่จะโกรธไปตลอดหรือเปล่า?" การปรับมุมมองสถานการณ์ให้เป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเปลี่ยนมุมมองให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้ สามารถลดความรุนแรงของความโกรธได้
เวลาเจออุปสรรคมักจะสับสน หงุดหงิด หรือโกรธเกรี้ยวบ้าง และพยายามหาทางแก้ปัญหา แต่สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทางออกของปัญหาคือวิธีการที่เผชิญกับมัน ซึ่งเวลาที่เจอปัญหาควรมีแผนการที่จะจัดการและคอยเช็คความคืบหน้าระหว่างทาง หากผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นดังหวังหรือล่าช้ากว่าที่ตั้งใจ ก็อย่าลงโทษตัวเอง การที่ได้เผชิญกับปัญหาด้วยความมุ่งมั่นและพยายามที่จะฝ่าฟัน โอกาสที่จะยอมจำนนง่าย ๆ คงเกิดขึ้นยาก และความคิดแบบใช้อารมณ์น่าก็จะลดน้อยลงด้วย
คนที่โกรธมักจะด่วนสรุปโดยขาดเหตุผล เวลาที่เกิดการโต้เถียงกันรุนแรง ควรจะหยุดคิดพิจารณาก่อนที่จะตอบโต้ออกไปโดยโพล่งคำพูดแรกที่เข้ามาในหัว ในขณะเดียวกัน ควรฟังคู่สนทนาอย่างตั้งใจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงที่นำมาสู่อารมณ์โกรธนี้ เป็นธรรมดาที่เวลามีคนมาวิพากษ์วิจารณ์จะไม่ชอบ และต้องการที่จะตอบโต้กลับไปในทันที บางครั้งอาจจะขอเวลานอกเพื่อมาสงบสติอารมณ์ให้นิ่ง แล้วค่อยกลับเข้าไปเพื่ออธิบายด้วยเหตุผลในประเด็นที่เป็นสาเหตุของปัญหา ทั้งนี้ หากดึงสติกลับมาและควบคุมตัวเองได้เร็ว โอกาสของความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาก็จะลดน้อยลง
เสียงหัวเราะ คือ ยาที่ดีที่สุด แม้กระทั่งสำหรับความโกรธ ให้ลองใช้เวลาไปกับการดูคลิปวิดีโอตลก ๆ สักพักหนึ่ง หรือลองโทรหาเพื่อนที่ทำให้คุณหัวเราะได้เสมอ เสียงหัวเราะสามารถช่วยให้ผ่อนคลายและหยุดวงจรของความโกรธได้
บางครั้งสถานที่ที่ต้องทำงาน หรือใช้ชีวิตอยู่เป็นประจำ ได้สร้าง ‘กับดักทางอารมณ์’ โดยจะรู้สึกหงุดหงิด หรือหัวเสียทันทีที่เดินเข้าไป เพราะ รู้ว่ามันมีปัญหาที่ต้องคอยแก้ไขและความรับผิดชอบที่ แบกรับอยู่ทำให้ ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่ง ‘กับดักทางอารมณ์’ นี้ จะทำให้เสียสุขภาพจิตและส่งผลกระทบกับคนรอบข้างด้วย หากไม่แก้ไข ลองให้เวลาหยุดพักกับตัวเองสักนิดหนึ่งในแต่ละวัน โดยเฉพาะเวลาที่รู้สึกเครียด
เพราะความโกรธส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งกายและใจ ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ เพื่อเอาชนะความโกรธด้วยการใจเย็นและใช้ชีวิตอย่างมีสติ พร้อมกับให้ประกันสุขภาพจาก ชับบ์ ไลฟ์ ช่วยดูแล ด้วยแบบประกันสุขภาพคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและผ่าตัด ประกันชดเชยรายได้ และประกันโรคร้ายแรงมอบความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม เพื่อปกป้องผู้เอาประกันจากผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ให้อุ่นใจ ไร้กังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
ข้อมูลอ้างอิง
ที่มา: Website : APA - the leading scientific and professional organization representing psychology in the United States
อ่านบทความที่น่าสนใจจากทาง ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต ได้ ที่นี่:
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ