ข้ามไปหน้าหลัก
การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

7 โรคยอดฮิตที่คนไทยต้องระวัง พร้อมวิธีป้องกัน

7 โรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด

 

เพราะไลฟ์สไตล์และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นำไปสู่พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ขาดความสมดุลซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานหนักและความเครียด สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการรูปแบบการดำเนินชีวิตที่อาจกลายเป็นภัยเงียบของโรคร้ายในอนาคต

สิ่งเล็ก ๆ ที่เราอาจไม่ทันระวังเช่น ทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ลืมออกกำลังกาย หรือนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ เมื่อสะสมเป็นเวลานานเข้า สิ่งเหล่านี้สามารถแปลงร่างกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คนไทยเผชิญกับโรคเรื้อรังและโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่อยากให้ใครต้องเป็นเลย

ลองมาทำความรู้จักกับ 7 โรคที่คนไทยเป็นกันเยอะที่สุด เพื่อรู้เท่าทัน หาวิธีป้องกันและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พร้อมใช้ชีวิตอย่างดีและมีคุณภาพในทุกวัน
 


7 โรคร้ายแรงที่คนไทยเป็นกันเยอะ มีอะไรบ้าง?

1. โรคมะเร็งและเนื้องอก (Cancer) 

ความเสี่ยงจากโรคมะเร็งอาจเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า แต่ละปี คนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 83,000 คน และโดยเฉลี่ยคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งถึงวันละ 227 คน โดยมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว


ภาวะและพฤติกรรมเสี่ยง
· สูบบุหรี่
· ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำ
· น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ปกติบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ เช่น ทานไม่ครบ ทานอาหารที่มีไขมันสูง
· รังสี UV มีทั้งประโยชน์และโทษในเวลาเดียวกัน เพราะสามารถทำลายเซลล์ผิวหนังและกระตุ้นเนื้อร้ายได้
· การติดเชื้อก็เพิ่มความเสี่ยงได้ เพราะเมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอลง
· การอยู่กับที่เป็นเวลานาน ไม่ขยับกล้ามเนื้อ หรือยืดเส้นยืดสายเพื่อเผาผลาญไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วนและไขมันอุดตัน

อาการเบื้องต้น
· พบความผิดปกติในระบบย่อยอาหาร รวมทั้งระบบขับถ่าย เช่น อาการอาหารไม่ย่อยบ่อย ๆ หรือท้องผูกที่รุนแรง อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
· ความผิดปกติเมื่อปัสสาวะ เช่น รู้สึกเจ็บหรือมีเลือดปนออกมา อาจเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ หรือ ต่อมลูกหมาก
· การปวดเรื้อรังบางชนิด
· เจ็บคอเรื้อรัง อาจเป็นอาการของมะเร็งกล่องเสียง หรือมะเร็งในลำคอ
· น้ำหนักลดลงมากกว่า 5 กิโลกรัมขึ้นไป อาจเป็นสัญญาณสำคัญของมะเร็งหลายชนิด
· กลืนอาหารได้ลำบาก และมีอาการบ่อยเกินไป
· มีเลือดออก เช่น ไอเป็นเลือด หรือขับถ่ายเป็นเลือด
· มีก้อนเนื้อแปลกปลอมเกิดขึ้นในร่างกาย เช่น มะเร็งเต้านมในผู้หญิง
· การเปลี่ยนแปลงของไฝบนผิวหนัง เช่น การขยายขนาดอย่างรวดเร็ว
· ไอเรื้อรัง หรือไอต่อเนื่องนานเกิน 8 สัปดาห์ อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปอด หรือมะเร็งต่อมไทรอยด์

วิธีป้องกัน
· กินอาหารที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ ผักจำพวกบร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก ผลเบอร์รี่ ถั่วแดง และชาเขียว หรือช็อกโกแลต และถั่วพีแกน โดยทานในปริมาณพี่พอเหมาะ
· เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง
· เลิกสูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่
· ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตามระยะเวลาที่กำหนด ยิ่งตรวจพบมะเร็งเร็วขึ้นเท่าไร โอกาสที่จะรักษาจนหายก็มีมากขึ้นเท่านั้น
· ออกกำลังครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
· นอนหลับให้สนิท
· เลี่ยงการเผชิญแสงแดดโดยตรงในช่วง เวลา 10.00 - 15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่รังสียูวีมีความเข้มข้น และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
· หลีกเลี่ยงสารเคมีอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด
· สืบประวัติการเจ็บป่วยด้วยมะเร็งของคนในครอบครัว และแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ เพราะมะเร็งหลายชนิดเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

 

2. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

จากการบริโรคที่เปลี่ยนไปทั้งอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง ออกกำลังกายน้อยลง และความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงพันธุกรรม ทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสมด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2.5 แสนราย และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 4 หมื่นราย หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 5 คน (อ้างอิงจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี 2566)

อย่างไรก็ดีโรคหัวใจและหลอดเลือดเราทุกคนสามารถป้องกันได้มากถึง 80% ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตที่ไม่ได้ยากจนเกินไป

ภาวะและพฤติกรรมเสี่ยง
· น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ปกติ
· ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
· สูบบุหรี่
· ไม่ออกกำลังกาย
· เครียด ซึมเศร้า หรือมีอารมณ์ทางลบมากเกินไป
· ไม่ค่อยกินผักและผลไม้ กินแต่อาหารที่แป้ง และไขมันสูง
· เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และมีระดับไขมันในเลือดสูง

อาการเบื้องต้น
· เจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปจนถึงกราม ไหล่ หรือแขนซ้าย
· เหนื่อยง่าย หายใจถี่กว่าเดิม
· หน้ามืด
· หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

วิธีป้องกัน
· ไม่สูบบุหรี่
· ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
· กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม
· ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือสะสม 150 นาทีต่อสัปดาห์
· พักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
· ทำจิตใจให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงจากความเครียด
· ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์
· หลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ และอากาศที่มีฝุ่นควัน
· ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ โดยอาจเพิ่มการตรวจไขมันในเลือดและตรวจหัวใจในโปรแกรมตรวจสุขภาพหากเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

 


ประกันสุขภาพ Basic Work & Play คุ้มครองออฟฟิศซินโดรม
โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ/ทางเดินอาหาร โรคไต และโรคมะเร็ง


3. โรคความดันโลหิตสูง

อีกหนึ่งโรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขปี 2567 คนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 14 ล้านคน หรือ ประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งนอกจากอายุ และพันธุกรรมแล้ว เรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคได้ด้วยเช่นกัน เราจึงต้องดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมในระยะยาว เพราะภัยเงียบนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาทั้ง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้

ภาวะและพฤติกรรมเสี่ยง
· การสูบบุหรี่
· ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
· น้ำหนักเกิน
· กินอาหารเค็มจัด มันจัด
· ตกอยู่ในภาวะเครียดบ่อย ๆ
· มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

อาการเบื้องต้น
· ปวดศีรษะ หน้ามืด ปวดต้นคอ
· มือเท้าชา
· เหนื่อยง่าย
· ใจสั่น
· คลื่นไส้ อาเจียน
· ตาพร่ามัว ปวดตาบ่อย ๆ
· ความดันโลหิตเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท

วิธีป้องกัน
· กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ ปรุงรสน้อย หรือไม่ปรุงรสเลย เลี่ยงอาหารเค็มจัด
· ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเดิน หรือว่ายน้ำ
· หลีกหนีสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียด
· ไม่สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
· ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
· หมั่นวัดความโลหิตอย่างสม่ำเสมอ หากค่ามากกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท คือ เริ่มสูงต้องเริ่มปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการกิน และหากสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่า ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้ารับการรักษา
 

4. โรคหลอดเลือดในสมอง

โรคหลอดเลือดในสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิต หรือพิการสูงเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และสูงเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิง และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยข้อมูลจากระบบรายงานฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 พบผู้ป่วยสะสม โรคหลอดเลือดสมองจำนวน 358,062 ราย และเสียชีวิตจำนวน 39,086 ราย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต และอาจจะกลายเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ อย่างไรก็ดีโรคหลอดเลือดสมองนั้นสามารถป้องกันได้ถึง 90% เพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราให้ไกลจากความเสี่ยง

ภาวะและพฤติกรรมเสี่ยง
· เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
· การสูบบุหรี่
· ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นประจำ
· ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
· กินอาหารที่มีไขมันสูง
· เป็นโรคอ้วน

อาการเบื้องต้น
· ใบหน้าชา ปากเบี้ยว ไม่สามารถอมน้ำในปากได้
· แขนขาอ่อนแรง
· พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก
· เห็นภาพไม่ชัดเจน หรือมองเห็นภาพครึ่งเดียว
· มีอาการปวดหัวเฉียบพลัน

วิธีป้องกัน
· รักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน
· ไม่กินอาหารเค็ม กินผักผลไม้เพิ่มขึ้น ลดอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว
· ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกินระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
· ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันหรือสะสม 150 นาทีต่อสัปดาห์
· หลีกเลี่ยงความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
· ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
· ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
· ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

 


5. โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร

จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค พบว่าหนึ่งในโรคติดต่อที่คนไทยป่วยมากที่สุด ในช่วงต้นปี 2568 คือโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ อาทิ อาหารเป็นพิษ อุจจาระร่วงเฉียบพลัน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ภาวะและพฤติกรรมเสี่ยง
· รับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก
· ดื่มน้ำไม่สะอาด
· สัมผัสอาหารหรือภาชนะที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
· ล้างมือไม่สะอาด

อาการเบื้องต้น
· ท้องเสียหรืออุจจาระร่วง
· คลื่นไส้ อาเจียน
· ปวดท้อง
· มีไข้หรือหนาวสั่น
· รู้สึกอ่อนเพลียหรือขาดน้ำ

วิธีป้องกัน
· ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
· ปรุงอาหารให้สุกและเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม
· หลีกเลี่ยงอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ
· ใช้น้ำดื่มที่ผ่านการกรองหรือฆ่าเชื้อ
· เลือกร้านอาหารที่ดูสะอาดและปรุงใหม่

 

6. โรคเกี่ยวกับตับ

โรคตับ คือโรคที่เกิดจากตับทำงานผิดปกติ ด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งพบได้ในทุกอายุ และโรคที่มีส่วนทำร้ายตับของเรา ได้แก่ ไขมันพอกตับ ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยในปี 2567 พบว่าโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักอันดับ 1 ในไทย ที่นำไปสู่โรคร้ายแรงอย่าง โรคตับแข็ง มะเร็งตับ และตับวายเฉียบพลัน เป็นต้น เพื่อไม่ให้ตับของเราซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายต้องตกในความเสี่ยง เราจึงควรดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรครุนแรงที่อาจตามมา

ภาวะและพฤติกรรมเสี่ยง
· ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
· การรับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ เช่น อาหารปิ้งย่าง ของมัน ของทอด ของหวาน
· การรับประทานยาหรืออาหารเสริมมากเกินไป
· ภาวะอ้วนลงพุง การมีน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็งได้ เช่น โรคไขมันคั่งตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
· การรับประทานของหมักดองเป็นประจำ เนื่องจากของหมักดองมีสารไนโตรซามีนและโซเดียมสูง ส่งผลให้ตับทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของโรคตับแข็ง

อาการเบื้องต้น
· ผิวเหลือง ตาเหลือง มีอาการดีซ่าน
· ปัสสาวะสีเข้มกว่าปกติ
· อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย
· ท้องอืด
· ตัวบวม หรือมีอาการคันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
· เบื่ออาหาร
· ปวดบริเวณช่องท้อง
· มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง

วิธีป้องกัน
· งดดื่มแอลกอฮอล์
· ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
· รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง, อาหารรสจัด และวัตถุดิบจำพวกแป้ง, น้ำตาล หรือไขมัน เลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
· พักผ่อนให้เพียงพอ ให้ร่างกายได้ฟื้นตัว
· ออกกำลังกายเป็นประจำ
· หลีกเลี่ยงการรับประทานยาและอาหารเสริมโดยไม่จำเป็น การใช้ยาหรือสมุนไพรบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อตับ
· ทำความสะอาดสิ่งของรอบตัวเสมอ ไม่ควรใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น เช่น ต่างหู และแปรงสีฟัน เป็นต้น
· ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีหากพบอาการ

 

7. โรคไตวาย

โรคไต คือ โรคที่ไตทำงานผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากพันธุกรรม พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยที่พบได้บ่อยได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไตผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ภาวะนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำ ๆ หรือจากการใช้ยาที่มีพิษต่อไต เป็นต้น ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไตเพิ่มจำนวนสูงขึ้นทุกปี และมีอัตราการเสียชีวิตจากไตวายมากกว่าปีละ 10,000 คน และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) ในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 1,062,756 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากถึง 85,064 คน โรคไตจึงเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นอีกโรคที่เราสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


ภาวะและพฤติกรรมเสี่ยง
· รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
· ดื่มน้ำน้อยเกินไป
· ใช้ยาแก้ปวดหรือยาสมุนไพรเกินความจำเป็น
· บริโภคโปรตีนหรืออาหารเสริมมากเกินไป
· สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

อาการเบื้องต้น
· ปัสสาวะผิดปกติ (ปัสสาวะน้อยหรือบ่อยกว่าปกติ)
· ปัสสาวะมีฟอง หรือมีเลือดปน
· บวมที่มือเท้าหรือใบหน้า
· อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
· คลื่นไส้ อาเจียน
· เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
· คันตามร่างกาย
· หายใจลำบาก โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน

วิธีป้องกัน
· ลดการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน หรือเค็มจัด
· เลือกรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล ผักใบเขียว
· ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน
· ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
· หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นอันตรายต่อไต
· หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

โรคร้ายแรงทั้ง 7 โรค ที่กล่าวมานี้ ส่วนใหญ่เราป้องกันและชะลอการเกิดโรคได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต รวมทั้งหมั่นตรวจสุขภาพสม่ำเสมอเพื่อให้รู้ทันโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่มและรับมือได้ทันท่วงที พร้อมทั้งทำประกันสุขภาพไว้เพื่อความอุ่นใจ และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย หากเป็นโรคและต้องเข้ารับการรักษา
 

ประกันสุขภาพทั่วไป VS ประกันสุขภาพเสริม Basic Work & Play จากชับบ์สามัคคีประกันภัย 

  • ประกันสุขภาพทั่วไป เหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาล ทั้งผู้ที่ไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพ ผู้ที่ทำอาชีพอิสระ กลุ่มผู้สูงวัย หรือแม้แต่วัยทำงานที่อาจมีสวัสดิการสุขภาพอยู่แล้ว แต่อยากเสริมความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพื่อความอุ่นใจของตัวเองและครอบครัวเมื่อมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ ซึ่งประกันสุขภาพจะคุ้มครองการเจ็บป่วยทั่วไป โรคร้ายแรงตามเงื่อนไขของแต่ละแผนประกัน ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยนอก รวมถึงกรณีที่ต้องการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลของผู้ป่วยใน

  • ประกันสุขภาพเสริม Basic Work & Play จากชับบ์สามัคคีประกันภัย เป็นแผนประกันที่คุ้มครองเฉพาะกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม รวมถึงโรคร้ายแรง จึงไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยเกินความจำเป็นกับโรคที่ไม่มีความเสี่ยง ค่าเบี้ยเริ่มต้นไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับประกันสุขภาพทั่วไป ซึ่งประกันสุขภาพเสริม Basic Work & Play เน้นคุ้มครองโรคที่เกิดกับวัยทำงาน ซึ่งครอบคลุมโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ รวมถึงให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สูงสุดตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย ดังนี้

    1. ค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (IPD&OPD) สำหรับกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม 7 โรค
    2. ค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (IPD&OPD) สำหรับการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และ/หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร
    3. ค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (IPD&OPD) สำหรับการเจ็บป่วยด้วยโรคตับวายเฉียบพลัน และโรคไตวาย
    4. การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม โดยมีทั้งค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (IPD&OPD) และผลประโยชน์เงินชดเชยแบบเหมาจ่าย
    5. ค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (IPD&OPD) สำหรับการเจ็บป่วยด้วยโรคซีสต์เนื้องอก มะเร็งระยะไม่ลุกลาม  

สำหรับรายละเอียดแผนประกันสุขภาพ Basic Work & Play จากชับบ์สามัคคี ทั้ง 6 แผน คลิกที่นี่
 

ทำไมต้องทำประกันสุขภาพเสริม กรณีที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว

ประกันสุขภาพทั่วไปคุ้มครองทั้งโรคทั่วไปและโรคร้ายแรง แต่หากต้องการความคุ้มครองโรคร้ายแรงเสริมจากประกันสุขภาพทั่วไป เพื่อให้ได้วงเงินความคุ้มครองเพียงพอสำหรับโรคร้ายแรงที่อาจมีค่ารักษาพยาบาลสูง การมีประกันสุขภาพเสริม ก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
 

พร้อมรับมือความเสี่ยง และดูแลสขภาพด้วยประกันสุขภาพ Basic Work & Play 

โรคภัยไข้เจ็บขยับเข้าใกล้ตัวทุกวัน โดยที่เราอาจไม่ทันระวัง โดยเฉพาะโรคที่คนไทยเป็นเยอะที่สุดทั้ง 7 โรคที่กล่าวไปข้างต้น การทำประกันสุขภาพ Basic Work & Play จากชับบ์สามัคคีประกันภัย จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจ และให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคร้ายแรง สูงสุดตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

 
  • ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
  • รับประกันภัยโดย บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) 2/4 อาคารชับบ์ ชั้นที่ 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
     

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2025 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

 

 

 

สนใจทำประกันสุขภาพ Basic Work & Play ดูแลโรคออฟฟิศซินโดรมกับชับบ์

เพียงกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างให้ครบถ้วน เพื่อให้ ชับบ์ ติดต่อกลับ หรือ โทร 1758 เพื่อรับคำแนะนำด้านประกันสุขภาพออฟฟิศซินโดรม, ประกันสุขภาพมะเร็งระยะลุกลาม หรือประกันโรคไตที่เหมาะกับคุณ

กรุณาระบุชื่อ
กรุณาระบุนามสกุล
กรุณาระบุอีเมล
กรุณาระบุหมายเลขโทรศัพท์
ท่านมีบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตหรือไม่?
กรุณาตอบคำถาม
This field is required

บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ใช้และอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อการพิจารณารับประกันภัย การบริหารจัดการกรมธรรม์ การจัดการสินไหมทดแทน และวัตถุประสงค์ด้านประกันภัยอื่น ๆ ตามที่ระบุในนโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัท โดยท่านสามารถอ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัทได้ ที่นี่