ข้ามไปหน้าหลัก
การจัดการด้านการเงิน

เงินฝากธนาคาร vs. ประกันแบบสะสมทรัพย์

05/2024
bank account book


ตามหลักการวางแผนทางการเงินที่ดี เราควรเก็บออมและเลือกออมในทรัพย์สินที่มีการกระจายความเสี่ยงในหลายระดับ ทั้งแบบเสี่ยงสูงแต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูง และแบบความเสี่ยงต่ำแม้จะได้ผลตอบแทนที่น้อย แต่ก็รักษาเงินต้นไม่ให้หาย พอพูดถึงความเสี่ยงต่ำที่ส่วนใหญ่ก็นึกถึงการฝากธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ก็เป็นอีกทางเลือกที่อยากให้พิจารณาไว้เช่นกัน โดยมีปัจจัยดังนี้

 

ระดับความเสี่ยง

ความเสี่ยงต่ำทั้ง 2 ประเภท ถึงแม้ว่าปัจจุบันธนาคารคุ้มครองเงินฝากต่อบัญชีสูงสุด 1 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งธนาคารและบริษัทประกันชีวิตก็มีหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลตรวจสอบสถานะทางการเงินอยู่ (ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงาน คปภ.) เพื่อให้มีมาตรฐานการดำเนินธุรกิจที่ดี และมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงอีกด้วย


ด้านผลตอบแทน


ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.25% ในส่วนของประกันแบบสะสมทรัพย์ก็จะแตกต่างกันไป ต้องดูว่ามีผลประโยชน์เกี่ยวกับเงินคืน เงินปันผล และเงินครบกำหนดสัญญาอย่างไรบ้าง ซึ่งหากเป็นแบบที่กำหนดการจ่ายคืนแบบ “คงที่” ก็จะคำนวณได้ทันที โดยมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ แต่อย่างไรก็ดี ตรงนี้อาจจะเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะประกันสะสมทรัพย์มีสภาพคล่องที่ต่ำกว่ามาก 

 

สภาพคล่อง

แน่นอนว่าเงินฝากออมทรัพย์นั้นมีสภาพคล่องสูงกว่ามาก สามารถถอนเงินฝากมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ ในขณะที่ประกันสะสมทรัพย์จะมีกำหนดระยะเวลาครบกำหนดสัญญา ตั้งแต่ระยะสั้น 3-5 ปี หรือระยะกลาง 10-15 ปี เป็นต้น ดังนั้น การออมเงินด้วยประกันจึงควรเป็นเงินเย็นที่ไม่ใช่เงินก้อนสำหรับไว้ใช้ตอนฉุกเฉิน


สิทธิประโยชน์ทางภาษี

เงินฝากจะไม่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม แถมหากมีดอกเบี้ยจากเงินฝากออมทรัพย์เกิน 20,000 บาทต่อปีรวมทุกบัญชีของทุกธนาคารแล้ว ยังต้องเสียภาษี 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ แต่กับประกันสะสมทรัพย์ที่คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปและเข้าเงื่อนไขของกรมสรรพากร สามารถลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลได้สูงสุดปีละ 100,000 บาท

 

ความคุ้มครอง

แน่นอนว่าประกันสะสมทรัพย์ยังมีข้อดีที่ให้ความคุ้มครองชีวิต (แม้จะไม่มากเท่ากับประกันชีวิตประเภทอื่น) แต่หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ก็ยังมีเงินอีกก้อนไว้ให้คนที่คุณรัก นอกจากนี้ แบบประกันสะสมทรัพย์ส่วนมากก็ยังสามารถซื้อความคุ้มครองอื่นแนบเพิ่มเติมได้ เช่น ประกันสะสมทรัพย์ 7 สมาร์ท แพลน ที่สามารถซื้อความคุ้มครองอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความต้องการ เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ และประกันโรคร้ายแรง เป็นต้น

 

โดยสรุปจากที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำว่าควรฝากเงินในธนาคารไว้เป็นเงินใช้จ่ายประจำ รวมถึงเงินก้อนเพื่อเหตุฉุกเฉิน และหากมีเงินเก็บส่วนเหลือจากนั้น ให้ลองพิจารณาประกันแบบสะสมทรัพย์เพื่อเพิ่มเติมผลตอบแทนในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากท่านใดที่มีรายได้เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว หรือกำลังมองหาความคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และอุบัติเหตุ เพิ่มเติมไว้ให้กับตนเองหรือครอบครัว

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ