เช็กสิทธิประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชน ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

ข้ามไปหน้าหลัก
การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

เช็กสิทธิประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชน ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

11/2024
​เช็กสิทธิประกันสังคม ด้วยเลขบัตรประชาชน​


ใน​​ปัจจุบัน​​ที่การทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลายคนอาจกังวลถึงความมั่นคงในชีวิตหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ว่างงาน หรือเสียชีวิต ประกันสังคม จึงเปรียบเสมือนหลักประกัน ที่ช่วยให้ผู้ประกันตนมีความมั่นใจ เผชิญเหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างมั่นคง บทความนี้จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคม มาตรา 33, 39 และ 40 ให้ทุกคนทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ​ 
 

ประกันสังคมคืออะไร

​​ประกันสังคม ​(Social Security Fund)​ คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตรทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์ ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง​
 

ผู้ประกันตน คือใคร

​​​ผู้ซึ่งจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนประกันสังคมอันก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม

 

กองทุนประกันสังคม คืออะไร

​​กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund) เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลไทย เพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ โดยใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดย นายจ้างและลูกจ้าง ต้องร่วมกันจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนฝ่ายละเท่า ๆ กัน เพื่อให้ความคุ้มครองลูกจ้าง จากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน​

​ผู้ประกันตนประกันสังคมแบ่งได้กี่ประเภท

​​ระบบประกันสังคมไทยได้จัดแบ่งผู้ประกันตนออกเป็นหลายประเภท เพื่อให้ครอบคลุมแรงงานในทุกภาคส่วน มาทำความรู้จักกับประเภทของผู้ประกันตนที่มีอยู่ในปัจจุบันกัน​

  1. ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) :​ ​ลูกจ้าง​​ที่ทำงานให้กับนายจ้าง รวมถึงพนักงานบริษัทเอกชน และนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ​​ จะ​​ได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง​

  2. ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39) :​​ ผู้ประกันตนที่พ้นจากสภาพการจ้างงาน มาแล้วไม่เกิน 6 เดือน แต่ยังรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ ​​จะ​​มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ​

  3. ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 40) : ​​ผู้ประกันตนที่มีอาชีพอิสระ ค้าขาย ฟรีเเลนซ์ หรือ​​แรงงานนอกระบบ ​ ​และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ มาตรา 39  จะมีสิทธิ​​ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 5 กรณี (ขึ้นอยู่กับแผนที่เลือกส่งเงินสมทบ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 3 ทางเลือก)​

วิธีเช็กสิทธิประกันสังคม​​ด้วยเลขบัตรประชาชน

​​การตรวจสอบสิทธิประกันสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกันตนควรทำอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีวิธีการตรวจสอบที่สะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ มาดูกันว่ามีวิธีใดบ้าง​

​​มี 3 วิธีหลัก ๆ ในการเช็กสิทธิประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชนแบบออนไลน์ ดังนี้​
 

1. เช็กสิทธิประกันสังคมผ่านเว็บไซต์​

  • ไปที่เว็บไซต์​https://www.sso.go.th/wpr/main/login
  • ​​เลือกเมนู "บริการออนไลน์" > "ตรวจสอบสิทธิ"​
  • ​​กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก​
  • ​​กรอกรหัสผ่าน​ 
  • ​​คลิก "เข้าสู่ระบบ"​
  • ​​ระบบจะแสดงข้อมูลสิทธิประกันสังคม​
    - ​​ข้อมูลการส่งเงินสมทบ​
    - ​​ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล​
    - ​​ประวัติการเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาล​
    - ​​การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน​
    - ​​การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ​
    - ​​ขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร​ 
    - ​​ขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร​
    - ​​ขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน​
    - ​​ขอเบิกสิทธิประโนชน์กรณีชราภาพ​
    - ​​เลือกบัญชีธนาคารเพื่อรับเงิน​ 
    - ​​ประวัติการทำรายการ​
    - ​​ระบบทันตกรรม​
     

2. เช็กสิทธิประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect

  • ​​ติดตั้งแอปพลิเคชันและลงทะเบียน​

  • ​​กรอกข้อมูลส่วนตัวและตั้งรหัสผ่าน​

  • ​​เข้าสู่ระบบด้วยเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่าน​

  • ​​เลือกเมนู "ตรวจสอบสิทธิ"​

  • ​​ระบบจะแสดงข้อมูลสิทธิประกันสังคม เช่น สถานะการเป็นผู้ประกันตน ประเภทการประกัน สถานะการจ่ายเงินสมทบ สถานพยาบาลที่ใช้สิทธิ และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ​
     

3. ​เช็กสิทธิประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐ​

​​แอปพลิเคชัน "ทางรัฐ​​" เป็นช่องทางออนไลน์ที่รัฐบาลพัฒนาขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐต่าง ๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ง่ายดาย ผ่านสมาร์ทโฟน โดยหนึ่งในบริการสำคัญบนแอปพลิเคชันนี้คือ ​

​​การตรวจสอบสิทธิประกันสังคม โดยบริการที่สามารถตรวจสอบได้นั้น มีหลากหลายด้วยกัน เช่น เช็กยอดเงินประกันสังคม สิทธิโครงการเยียวยา ยอดเงินสมทบชราภาพ ​​สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้​

  • ​​ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ทางรัฐ บนมือถือ​ไ​ด้ทั้งระบบ IOS และ Android​iOS : https://apple.co/3CzuUqj
    Android : https://bit.ly/3lNngmo

  • ​​เข้าสู่ระบบด้วยรหัสผ่านที่ตั้งไว้​

  • ​​เลือกเมนู "ประกันสังคม"​

  • ​​เลือก "ตรวจสอบสิทธิ"​

  • ​​กรอกเลขบัตรประชาชน​

  • ​​กด "ค้นหา"​

  • ​​ข้อมูลสิทธิประกันสังคมจะแสดงบนหน้าจอ​

หากไม่สามารถลงทะเบียน​​ตาม ​3 ​ช่องทางที่ได้กล่าวไปข้างต้น​​ได้และมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อ โทรสอบถาม รายละเอียดสำนักงานประกันสังคมได้ที่สายด่วน 1506​ 
 

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากประกันสังคม​​ ม.33 และ ม.39

​​ประกันสังคมมาตรา 33 และ 39 มอบสิทธิประโยชน์มากมายให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเจ็บป่วยไปจนถึงการเกษียณอายุ มาทำความเข้าใจกับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับกัน​

​​1. สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ​​อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน​

  • ​​ความคุ้มครอง: ​​ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลตามสิทธิฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย​

  • ​​เงินทดแทน​​จากการขาดรายได้​​: ร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน/ปี ยกเว้นโรคเรื้อรัง มีสิทธิได้ไม่เกิน 365 วัน​

  • ​​ทันตกรรม: เบิกได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 900 บาท/ปี (กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฝันคุด)​
     

​​2. สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร​ 

​​ผู้ประกันตนหญิง ​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร ​

  • ​​ความคุ้มครอง: เงินค่าคลอดบุตร จำนวน 15,000 บาท ​​ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง​​ และยังสามารถเบิก​​ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ เท่าที่จ่ายจริง​ ​ไม่เกิน​​ ได้สูงสุดจำนวน 1,500 บาท ​

  • ​​เงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อคลอดบุตร: ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน (ไม่เกิน 2 ครั้ง)​

  • ​​สำหรับผู้ประกันตนชาย ให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส​ โดยจะได้รับเฉพาะค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 15,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
     

​​3. สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ​

  • ​​ความคุ้มครอง: ​​​
    - รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    - ​​​สามารถเข้ารับการ​​รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน​​ได้​​ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด​
  • ​​เงินทดแทน:​ ​​
    - การสูญเสีย​​ระดับไม่รุนแรง: ร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ ไม่เกิน 180 เดือน​
    - ​​การสูญเสีย​​ระดับรุนแรง: ร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดชีวิต​
  • ค่าพาหนะ: เบิกได้เดือนละ 500 บาท​ 
  • ​​ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ: เบิกได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 40,000 บาท​

​​4. สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต

เงินทดแทน: ค่าทำศพ: 50,000 บาท และ เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ดังนี้​

  • กรณี​​จ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 12​0​ เดือน จะได้​​รับเงินสงเคราะห์ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่า​​จ้าง​​ 4 เดือน​
  • ​​กรณี​​จ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป​ ​​จะได้​​รับเงินสงเคราะห์ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่า​​จ้าง​​ 12 เดือน​
     

​​5. สิทธิประกันสังคมกรณีสงเคราะห์บุตร​

  • ​​เงินทดแทน:​​ ได้รับ​​ 800 บาท/เดือน/คน แต่ไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่​​บุตร​​แรกเกิดจนถึง​​อายุครบ​​ 6 ปีบริบูรณ์​
     

6. ​สิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพ​

  • ​​เงินบำนาญ:​ 
    - จ่ายเงินสมทบ​​มาแล้วไม่น้อยกว่า​​ 180 เดือน: ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย​
    - จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน: ​​ให้​​เพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือน​ ​สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน​

  • ​​เงินบำเหน็จ: ​ 
    - กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ​
    - ​​กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ​
     

​​7. สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน​

  • ​​เงินทดแทน:​
    - ​​กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท​
    - ​​ก​​รณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท​
     

ไม่ได้ทำงานประจำ​​สมัครใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม​

​​หลายคนอาจคิดว่าประกันสังคมเป็นสิทธิเฉพาะผู้ที่ทำงานประจำเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ทำงานประจำก็สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ มาดูกันว่าต้องทำอย่างไร ​

​​สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ ​​มี​​​​อาชีพอิสระ​​ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย ​​หรือแรงงานนอกระบบ​​ แต่อยากใช้สิทธิประกันสังคม สามารถทำได้ดังนี้​

​​สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40​

​​คุณสมบัติ:​

  • บุคคลสัญชาติไทย อายุ 15 ปีบริบูรณ์ และ​​ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ​​์​
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39​
  • ไม่เป็น​​สมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ​​ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ประกอบอาชีพอิสระ​
  • ​​ผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย แต่มีเลขหลักแรกเป็น 0 หรือ 6 หรือ 7​
  • ​​หากเป็นผู้พิการทางร่างกายที่รับรู้สิทธิ์สามารถสมัครได้​

ขั้นตอนการสมัคร: 

  1. ​​ยื่นใบสมัครที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ที่ท่านสะดวก เช่น เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา เว็บไซต์ ​www.sso.go.th​  BIG C ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เครือข่ายประกันสังคม ทั่วประเทศ สายด่วนประกันสังคม 1506​
  2. ​​เตรียมเอกสารตามที่กำหนด  บัตรประชาชน ​​หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน​​ ผู้สมัครสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ตามความคุ้มครอง 3 ทางเลือก​
    - ​​จ่าย​​เงินสมทบ​​ เดือนละ 70 บาท คุ้มครอง 3 กรณี คือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต​
    - ​​จ่าย​​เงินสมทบ​​ เดือนละ 100 บาท คุ้มครอง 4 กรณี เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ​
    - ​​จ่าย​​เงินสมทบ​​ เดือนละ 300 บาท คุ้มครอง 5 กรณี เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร​
     

สิทธิประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 40 แบ่งตามประเภทเงินสมทบ

​​ผู้ประกันตนมาตรา 40 มีทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละทางเลือกก็จะให้สิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันไป มาทำความเข้าใจกับสิทธิประโยชน์ในแต่ละทางเลือกกัน​
 

​ทางเลือกที่ 1: จ่าย 70 บาทต่อเดือน


​​​​สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 3 กรณี  คือ  กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย​

​​1. สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย​

  • ​​เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี ​

  • ​​กรณีไม่ได้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล(ผู้ป่วยนอก) แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท ​​รวมกัน​​ไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี ​

  • ​​ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่สั่งให้หยุดพักรักษาตัว หรือให้หยุดพักรักษาตัวน้อยกว่า 3 วัน (มีใบรับรองแพทย์) จะได้รับค่าชดเชยครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี​

2. ​​สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ​
​​ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน  10 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนใน 20 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือนใน 40 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 36 เดือนใน 60 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท​
     

3. ​​สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต​

  • ​​ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตเป็นค่าทำศพ 25,000 บาท และหากผู้ประกันตนจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต จะได้รับเงินสมทบเพิ่มอีก 8,000 บาท​
     

​ทางเลือกที่ 2: จ่าย 100 บาทต่อเดือน​
 

​​สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 4 กรณี  คือ  กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ​

1. ​​สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย​

  • ​​เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี ​

  • ​​กรณีไม่ได้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล(ผู้ป่วยนอก) แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท ​​รวมกัน​​ไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี ​

  • ​​ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่สั่งให้หยุดพักรักษาตัว หรือให้หยุดพักรักษาตัวน้อยกว่า 3 วัน (มีใบรับรองแพทย์) จะได้รับค่าชดเชยครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี​

2. สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ​
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน  10 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนใน 20 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือนใน 40 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 36 เดือนใน 60 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท​

3. ​​สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต​

  • ​​ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตเป็นค่าทำศพ 25,000 บาท และหากผู้ประกันตนจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต จะได้รับเงินสมทบเพิ่มอีก 8,000 บาท​

4. ​​สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ​

  • ​​ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 50 บาท ต่อ/เดือน (ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบบวกเงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกาศกำหนด​
     

ทางเลือกที่ 3: จ่าย 300 บาทต่อเดือน  
 

​​สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 5 กรณี  คือ  กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร​

1. ​​สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย​

  • ​​เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน​

  • ​​กรณีไม่ได้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล(ผู้ป่วยนอก) หากมีใบรับรองแพทย์ให้หยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท ​

  • ​​กรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมกัน ได้รับเงินชดเชยไม่เกิน 90 วันต่อปี​

2. ​​สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ​
​​ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน ตลอดชีวิต​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน  10 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนใน 20 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือนใน 40 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท​

  • ​​จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 36 เดือนใน 60 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท​

3. ​​สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต​

  • ​​ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตเป็นค่าทำศพ 50,000 บาท ​​จ่ายให้กับผู้จัดการศพ​ 

4. ​​สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ​

  • ​​ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเดือนละ 150 บาท ต่อเดือน ​​พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกาศกำหนด ​

  • ​​ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท​

5. ​​สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร​

  • ​​ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาทต่อเดือน ครั้งละไม่เกิน 2 คน โดยจะเริ่มได้รับสิทธิตั้งแต่บุตรแรกเกิดถึงบุตรอายุ 6 ปีบริบูรณ์ ​

​​หมายเหตุ : บุตร ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น​

​​หมายเหตุ​

  • ​​ข​​​​้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2567
  • กฎหมายและระเบียบของกองทุนประกันสังคมอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ​
  • ช่องทางตรวจสอบสถานะประกันสังคม และสิทธิ์ต่างๆ ​
  • สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน​
    App : SSO Connect
    LINE : @ssothai
    ​​สายด่วน 1506 ​
     

​​ประกันสังคมเป็นระบบสวัสดิการที่สำคัญสำหรับผู้ทำงานในประเทศไทย ให้ความคุ้มครองในหลายด้านตั้งแต่การเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ไปจนถึงการว่างงานและชราภาพ ทั้งผู้ที่ทำงานประจำและผู้ประกอบอาชีพอิสระสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์นี้ได้ โดยมีทางเลือกที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถในการจ่ายเงินสมทบของแต่ละบุคคล การตรวจสอบสิทธิประกันสังคมสามารถทำได้ง่ายผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ช่วยให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น การทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากระบบประกันสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นคงในชีวิตและการทำงานของประชาชน​

​​อย่างไรก็ตาม ประกันสังคมอาจจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของทุกคน การทำประกันเพิ่มเติม เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และประกันชีวิตเพื่อวางแผนเกษียณ ก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา​

  • ​​ประกันชีวิต​​: ช่วยคุ้มครองความเสี่ยงกรณีเสียชีวิต มอบเงินก้อนให้แก่ครอบครัวเพื่อเป็นทุนการศึกษา ค่าใช้จ่าย หรือประกอบธุรกิจต่อ​

  • ​​ประกันสุขภาพ​​: ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ​

​​การเลือกประกันที่เหมาะสมกับความต้องการ จะช่วยให้มีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคง และใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ​

​​
ขอบคุณข้อมูลจาก​

บทความ

สอนวิธียื่นภาษีออนไลน์แบบเข้าใจง่ายในทุกขั้นตอน
 

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์แบบเข้าใจง่ายพร้อมกับเข้าใจความหมายของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร และใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี รวมถึงเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนยื่นภาษีออนไลน์ มาติดตามไปพร้อมกันได้เลย

รู้เท่าทัน โซเดียม เลือกทานอาหาร เพื่อสุขภาพหัวใจและไตที่แข็งแรง

โซเดียม แร่ธาตุที่มักถูกมองข้าม แต่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ พบได้ในอาหารทั่วไป ในบทความนี้ จะมาทำความรู้จักกับโซเดียมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เข้าใจถึงปริมาณโซเดียมที่ร่างกายต้องการต่อวัน ประโยชน์ และผลเสียของการกินโซเดียม

kidney

ฟอกไต วิธีรักษาโรคไตเรื้อรังที่ควรเข้าใจ
 

เคยสงสัยไหมว่าไตทำงานหนักแค่ไหนในแต่ละวัน? เสมือนโรงงานรีไซเคิลขนาดยักษ์ที่ไม่เคยหยุดพัก ไตคัดกรอง ดูดซึม และขับของเสียออกจากร่างกายอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่เมื่อโรงงานรีไซเคิลนี้เริ่มสะดุด โรคไตเรื้อรังอาจคืบคลานเข้ามา

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ