เรื่องของความมั่นคงทางการเงินนั้น ต้องอาศัยเวลาและวินัยต่อแผนการเงิน ที่กำหนดหรือตั้งเป้าหมายไว้ แต่ทุกคนสามารถเริ่มได้ง่ายๆ จากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน กับ 6 เทคนิคการช่วยออม ดังนี้
ไม่ว่าจะได้เงินมาจากช่องทางไหน ควรหักเก็บไว้ก่อนเลยทันทีและส่วนที่เหลือค่อยมาจัดสรรวางแผนการใช้จ่ายในแต่ละเดือน
เริ่มจากการสำรวจการใช้เงินของตนเองก่อนว่าแต่ละวันจำเป็นต้องใช้จ่ายเท่าใด เพื่อกำหนดงบประมาณการใช้จ่ายให้เหมาะสม เพื่อให้ไม่น้อยจนลำบากในการใช้ชีวิตเกินไป และไม่มีผลต่อการควบคุมรายจ่าย เช่น ตั้งงบใช้วันละไม่เกิน 200 บาท ก็ควรเตรียมเงินในแต่ละวันไว้เลย แต่อย่าลืมพกเงินฉุกเฉินไว้บ้าง เผื่อใช้เมื่อยามจำเป็น
สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศ หากคุณเลือกนั่งวินมอเตอร์ไซด์ทุกวันที่ออกจากบ้านหรือเข้าที่ทำงาน สมมุติว่าครั้งละ 10 บาท ทั้งเช้าและเย็น ก็วันละ 20 บาท เดือนนึงก็ 400 กว่าบาทแล้ว สำหรับราคา 10 บาทในเมืองนั้นก็น่าจะอยู่ในระยะที่พอเดินได้อยู่ ลองหันมาเดินแทน โดยเฉพาะในวันที่อากาศดีๆ นอกจากได้ออมเงินแล้วยังถือเป็นการออกกําลังกายอีกด้วย
คนเรามักจะมีกิเลสอยากได้นู่นได้นี่อยู่ตลอดเวลา ทั้งกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกา เครื่องประดับ ฯลฯ จึงควรลองคิดให้ดีก่อนว่าสิ่งนั้นจำเป็นแค่ไหน ราคาสูงหรือไม่ หรือที่ซื้อไว้ก่อนหน้าใช้คุ้มแล้วหรือยัง แต่ถ้าคิดดีแล้วว่าจะซื้อ แนะนำควรเริ่มหยอดกระปุกเก็บออมเลย หากอยากได้หลายอย่างก็ควรมีหลายกระปุกเขียนชื่อของที่อยากได้แปะไว้ พอเก็บเงินครบค่อยเอามาซื้อ ซึ่งวิธีนี้เป็นการช่วยชะลอการตัดสินใจแบบปุบปับ และพอถึงเวลาจะทุบกระปุกจริงๆ ก็อาจจะเสียดาย และอาจเอาเงินไปใช้อย่างอื่นที่จำเป็นกว่าอีกด้วย
อีกหนึ่งทางเลือกของการเก็บออม โดยอาจลองเริ่มทำที่เบี้ยรายปีไม่สูงมากนัก สำหรับประกันแบบสะสมทรัพย์นี้เป็นประกันชีวิตในรูปแบบหนึ่งของการออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเงินคืนที่คุ้มค่าแก่ผู้เอาประกันภัย สามารถเลือกได้ทั้งแบบคืนเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดสัญญา หรือแบบมีเงินคืนระหว่างทางตลอดสัญญาก็ได้ นอกจากจะได้ประโยชน์จากการออมพร้อมความคุ้มครองชีวิต เบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายสามารถนำไปลดหย่อนภาษีตามที่สรรพากรกำหนดได้อีกด้วย
ใช้กฎ 72 เพื่อออมเงินเพิ่มพูนเป็น 2 เท่า โดยปัจจัยที่ต้องนำมาใช้ในการคำนวณนั้นมี 2 อย่าง นั่นคือ “อัตราผลตอบแทนต่อปี” กับเลข “72” เช่น หากเงินออมตั้งต้น 10,000 บาท และนำเงินนี้ฝากธนาคารได้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ย 2% ให้นำ 72 ตั้ง หารด้วย 2 จะทราบระยะเวลาจำนวนปีที่เงินก้อนนี้จะเพิ่มเป็น 20,000 บาท ในระยะเวลา 36 ปี ระยะเวลาที่ได้ยาวนาน เพราะอัตราดอกเบี้ยสำหรับเครื่องมือทางการเงินที่ความเสี่ยงต่ำ นำมาซึ่งผลตอบแทนไม่เยอะด้วย แต่อย่างไรสูตรนี้ก็สามารถใช้คำนวณเพื่อคาดการณ์เงินออมในอนาคตได้
สำหรับ 6 เทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อยากให้หลายๆ คนลองนำไปใช้ดู เพราะการออมหรือเริ่มออม ล้วนแล้วแต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อเป้าหมายทางการเงินในอนาคตของเราทุกคน
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ