ข้ามไปหน้าหลัก

 

เคยได้ยินเกี่ยวกับโรคที่ทำให้กระหายน้ำเหมือนอยู่กลางทะเลทราย แต่ไม่ใช่โรคเบาหวานหรือไม่?
โรคเบาจืด ภัยเงียบที่มักถูกเข้าใจผิดและมองข้าม แม้จะมีความรุนแรงน้อยกว่าเบาหวาน แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก ทำไมบางคนถึงปัสสาวะบ่อยราวกับน้ำพุ? อะไรทำให้ความกระหายไม่มีวันสิ้นสุด? และเหตุใดการรู้จักโรคนี้จึงสำคัญต่อสุขภาพในระยะยาว?

มาไขปริศนาของโรคเบาจืดไปพร้อมกัน เพื่อเข้าใจ รับมือ และป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจแอบซ่อนอยู่ในร่างกาย

 

โรคเบาจืด คืออะไร

คือ ภาวะที่ผู้ป่วย ปัสสาวะในปริมาณสูงมากกว่า 2.5 ลิตรต่อวัน (คนทั่วไปไม่เกิน 2 ลิตรต่อวัน) ปัสสาวะจากโรคนี้จะเจือจางมาก เพราะผู้ป่วยจะกระหายและดื่มน้ำมาก และเมื่อปัสสาวะบ่อยก็จะเกิดภาวะขาดน้ำ แม้จะพบผู้ป่วยโรคนี้ไม่มาก แต่หากรู้จักอาการโรคไว้ก็เป็นการดี เพื่อสังเกตตนเองและคนรอบข้างที่มีลักษณะผิดปกติจะได้วินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป

สาเหตุของโรคเบาจืด


สาเหตุของโรคเบาจืดที่พบมากที่สุด มาจากความผิดปกติของสมองส่วนต่อมใต้สมอง อาจจะมาจากการติดเชื้อ การผ่าตัด หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ จนทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการปัสสาวะเหมือนคนทั่วไปได้ หรืออาจจะมาจากความผิดปกติของไต ที่ไม่สามารถดูดซึมน้ำกลับเข้าร่างกายในระดับที่สมดุลได้ รวมถึงสภาวะทางจิต และผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษา  

อาการของโรคเบาจืด


อาการหลัก คือ ปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย รวมจนถึงกระหายน้ำมากผิดปกติ เป็นเหตุให้เกิดภาวะอื่นๆ ตามมา เช่น

  • อ่อนเพลีย จากการเสียเกลือแร่เมื่อปัสสาวะ และขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะอาจต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะระหว่างนอนหลับ
  • ปัสสาวะรดที่นอน เนื่องจากปวดปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมากจนอาจกลั้นไม่อยู่ขณะหลับ
  • ภาวะขาดน้ำ เพราะเสียน้ำมาก สังเกตได้จากผิวแห้ง ปากคอแห้ง วิงเวียนศีรษะ อาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นเร็วด้วย
  • ขาดสมดุลจากเกลือแร่ มักจะทำให้วิงเวียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริว ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะบ่อยๆ




การรักษาโรคเบาจืด


หากใครที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการเบื้องต้นคล้ายจะเป็นโรคเบาจืด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันและจัดการกับโรคได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา โรคเบาจืด ได้ทันท่วงทีอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ นอกจากการปรึกษาแพทย์แล้ว การทำประกันสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา เพราะค่ารักษาพยาบาลที่ไม่คาดคิดอาจสร้างปัญหาให้กับเงินออมและแผนการใช้ชีวิตได้


ข้อมูลอ้างอิง

ที่มา: ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
จาก วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เฉพาะทาง (วว.) รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 


อ่านบทความที่น่าสนใจจากทาง ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต ได้ ที่นี่:

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง



 

ติดต่อ
ติดต่อ

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ช่วยดูแลเป้าหมายในชีวิตของคุณ

ปรึกษาเรา เพื่อช่วยเติมเต็มความต้องการด้านประกันชีวิตของคุณ