ซีสต์ (cyst) ลักษณะ อาการ การรักษา และป้องกัน
เบาหวาน...ภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพ! โรคเบาหวานมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญหน้ากับโรคร้ายนี้ จนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง บทความนี้จะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับโรคเบาหวานให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้สังเกตสัญญาณเตือนและดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเหมาะสม
โรคเบาหวาน (Diabetes) คือ ภาวะเรื้อรังที่ส่งผลต่อการใช้น้ำตาล (กลูโคส) ของร่างกาย เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง โดยปกติร่างกายจะนำน้ำตาลจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน โดยอาศัยฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน แต่ในผู้ป่วยเบาหวานร่างกายไม่อาจผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินส่งผลให้ น้ำตาลในเลือดสูงหากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังได้
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก ดังนี้
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 : เกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ มักพบในเด็กและวัยรุ่น
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 : เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ : เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ มักหายไปหลังคลอด
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ : เป็นโรคที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น พันธุกรรม ยา หรือโรคที่ร่วมกับกลุ่มอาการอื่น ๆ เช่น Down syndrome, Turner syndrome, Prader-Willi syndrome โรคเบาหวานชนิดนี้มักจะมีรูปแบบการรักษาและการดูแลที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุของโรค
น้ำตาลเฉลี่ยสะสมคือค่าที่วัดระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจจากการผสมกับโปรตีนในเม็ดเลือดแดง เป็นตัวบ่งบอกถึงปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สะสมมาตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา หมายความว่า เมื่อรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินความจำเป็น ร่างกายจะเก็บไว้ในเลือดและสะสมทุกวัน จนมีปริมาณฮีโมโกลบินเอ วัน ซีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการตรวจ HbA1c หรือการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C; HbA1C) เป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง
การวินิจฉัยเบาหวาน
น้ำตาลหลังอดอาหารข้ามคืน (มากกว่า 8 ชั่วโมง) มากกว่า หรือ เท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
น้ำตาล 2 ชั่วโมง หลังทดสอบความทนของกลูโคส (oral glucose tolerance test) มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก/ดล
น้ำตาลเวลาใดเวลาหนึ่ง มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก/ดล ร่วมกับมีอาการของเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย ตามัว อ่อนเพลีย นน.ลด
น้ำตาลสะสม (HbA1c) มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 %
เกณฑ์การวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
น้ำตาลหลังอดอาหารข้ามคืน (มากกว่า 8 ชั่วโมง) มากกว่า หรือ เท่ากับ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
น้ำตาล 2 ชั่วโมง หลังทดสอบความทนของกลูโคส (oral glucose tolerance test) มากกว่าหรือเท่ากับ 140-199 มก/ดล
น้ำตาลสะสม (HbA1c) มากกว่าหรือเท่ากับ 5.7-6.4 %
ที่มา: Diagnosis and Management of Diabetes: Synopsis of the 2016 American Diabetes Association Standards of Medical Care in Diabetes
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อระบบเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของโรคเบาหวาน
การดูแลตนเอง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี แนวทางปฏิบัติ
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด : ระดับน้ำตาลในเลือดควรอยู่ที่ 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) หากมีภาวะความเสี่ยง หรือเบาหวานแฝง ระดับน้ำตาลในเลือดจะเท่ากับ 100 – 125 mg/dL หากมีมากกว่า 126 mg/dL มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ควบคุมความดันโลหิต : โดยทั่วไปความดันโลหิตที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอทหากค่าเฉลี่ยเกิน 140/90 ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ควบคุมไขมันในเลือด : คอเลสเตอรอล LDL ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ไตรกลีเซอไรด์ ควรไม่เกิน 150 mg/dL และ คอเลสเตอรอล HDL ควรมากกว่า 40 mg/dL
เลิกสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนเลิกสูบบุหรี่
ตรวจสุขภาพตา ไต เท้า เป็นประจำ: ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ออกกำลังกาย : ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เลือกกิจกรรมที่เหมาะกับสภาพร่างกาย
ควบคุมน้ำหนัก : น้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันในเลือด
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ : เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม
ดื่มน้ำให้เพียงพอ : ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
การป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานเป็นสิ่งที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการพักผ่อนให้เพียงพอ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด การตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังอาการผิดปกติเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันโรคเบาหวาน การตรวจสุขภาพประจำปีและปรึกษาแพทย์เมื่อมีข้อสงสัยจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
หากเริ่มปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสุขภาพที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว
เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อย่าปล่อยให้ค่ารักษาพยาบาล มาทำให้แผนการใช้ชีวิตไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ เพราะค่ารักษาพยาบาลที่ไม่คาดคิดอาจสร้างปัญหาให้กับเงินออมและแผนการใช้ชีวิตได้ ให้ประกันสุขภาพจาก ชับบ์ ไลฟ์ ช่วยดูแลด้วยแบบประกันสุขภาพคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและผ่าตัด ประกันชดเชยรายได้ และประกันโรคร้ายแรงมอบความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม เพื่อปกป้องจากผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเจ็บป่วยและต้องรักษาตัว
ที่มา
ซีสต์ (cyst) ลักษณะ อาการ การรักษา และป้องกัน
รู้เท่าทัน โซเดียม เลือกทานอาหาร เพื่อสุขภาพหัวใจและไตที่แข็งแรง
ฟอกไต วิธีรักษาโรคไตเรื้อรังที่ควรเข้าใจ
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ