ข้ามไปหน้าหลัก
ประกันชีวิต

รับมือกับชีวิตในวัยเกษียณอย่างมีความสุข

09/2024
financial plan for retirement

คนไทยส่วนใหญ่อาจมีความกังวลในการใช้ชีวิตหลังเกษียณ เพราะหลายๆ คน ไม่ได้วางแผนการเกษียณที่มีคุณภาพพอสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ก่อน ที่จะเริ่มเตรียมตัวกับชีวิตหลังเกษียณ ลองมาเช็คกันก่อนว่าต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตหลังเกษียณอะไรบ้าง เพื่อเตรียมพร้อมในการใช้ชีวิตในวัยเกษียณให้มีความสุข

ข้อควรรู้การรับมือในเชิงบวก ก่อนที่จะถึงวัยเกษียณ

ก่อนที่เราจะถึงวัยเกษียณ การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น

วางแผนการเงิน : ก่อนที่จะถึงวัยเกษียณควรวางแผนการเงินให้ดีเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินเพียงพอในช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำงาน

เตรียมเงินเก็บฉุกเฉิน : การมีเงินสำรองเพียงพอสำหรับฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญในทุกช่วงชีวิต แต่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงวัยเกษียณ

● ดูแลสุขภาพ : การดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจในช่วงเวลาก่อนเข้าสู่วัยเกษียณเป็นการลงทุนที่มีค่ามาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยหรือมีภาวะสุขภาพที่ไม่ดีในอนาคต

● พัฒนาทักษะและความสามารถ : การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ หรือพัฒนาความสามารถในงานหรือในด้านที่เราสนใจสามารถช่วยให้มีโอกาสในการทำงานหรือรายได้เสริมในช่วงวัยเกษียณ

● สร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน : การทำประกันชีวิตเพื่อวางแผนเกษียณเป็นวิธีที่ดีในการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินในช่วงวัยเกษียณ เป็นการป้องกันความไม่แน่นอนในอนาคต เช่น การเจ็บป่วยที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ก่อนถึงวัยเกษียณ เป็นการสร้างเงินก้อนสะสมในช่วงวัยทำงาน เพื่อรับผลประโยชน์หลังเกษียณ นอกจากนี้ยังช่วยลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตหลังเกษียณ

1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามธรรมชาติ

เมื่ออายุมากขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะเสื่อมโทรมลง ส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ป่วยง่าย หรือการเสี่อมลงของกล้ามเนื้อทำให้กระดูกพรุน เสี่ยงต่อการหกล้ม รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณควรเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลิกดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่หรืออาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจสุขภาพอยู่เสมอ เพื่อชีวิตหลังเกษียณที่สุขสบาย

2. ความรู้สึกเหงา

การเกษียณอายุ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญในชีวิตหลาย ๆ คนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งด้านบทบาท หน้าที่ ความสัมพันธ์ และวิถีชีวิต ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อความรู้สึกเหงาในวัยเกษียณ เพราะเมื่อเกษียณอายุ หลายคนต้องวางมือจากงาน

ซึ่งเปรียบเสมือนตัวตนและบทบาททางสังคมหลัก ทำให้สูญเสียความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ขาดกิจวัตรประจำวัน และสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าต่อสังคม อย่างไรก็ตาม ความเหงาในวัยเกษียณไม่ได้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ยังมีวิธีการรับมือและปรับตัวเพื่อให้ใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข เช่น การเลือกทำงานอดิเรกที่รัก เช่น ทำสวน ปลูกผัก หรือเข้าร่วมอาสาสมัครต่าง ๆ เป็นต้น

3. อาการซึมเศร้าหลังเกษียณ

การเปลี่ยนบทบาทครั้งสำคัญจากเดิมที่เคยเป็นเสาหลักหาเลี้ยงครอบครัวกลายเป็น

ผู้สูงอายุในบ้านที่ต้องปรับตัวและหาสมดุลใหม่ให้กับชีวิต เพราะอาจต้องเผชิญกับความรู้สึกที่หลากหลาย ทั้งความกังวลที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กับครอบครัว และความรู้สึกไร้ค่าไม่มีความหมาย หรืออาการซึมเศร้าหลังเกษียณ

อย่างไรก็ตามยังมีวิธีปรับตัวและใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขได้ เช่น หากิจกรรมที่ชอบทำ เพื่อเติมเต็มเวลาว่าง และพัฒนาตนเองเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เช่น การเล่นดนตรี หรือการทำอาหาร หรือการเข้าร่วมชมรมต่าง ๆ เพื่อหาเพื่อนใหม่เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน การพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับความรู้สึก ความต้องการ ความคาดหวัง และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ภายในบ้าน การเปลี่ยนบทบาทจากเสาหลักที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นผู้สูงอายุในบ้านอาจเป็นเรื่องยากแต่หากมีการปรับตัวและมองหาโอกาสในการทำงานใหม่ ๆ ก็สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขและมีความหมายได้
 

4. สภาพคล่องทางการเงินลดลง

การเงินหลังเกษียณเปรียบเสมือนด่านสำคัญในชีวิตหลายคนอาจประสบปัญหาการเงิน เนื่องจาก รายได้หลักจากการทำงานหายไป เมื่อเกษียณอายุเหลือเพียงเงินก้อนจากการออม เงินบำนาญ หรือเบี้ยเลี้ยงชีพ ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นต้น

เมื่ออายุขัยของคนเรายาวนานขึ้น หมายความว่า ต้องมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่าย ในช่วงวัยเกษียณที่ยาวนานขึ้นด้วยเช่นกัน หลายคนไม่มีการวางแผนการเงินก่อนเกษียณ ทำให้ไม่มีเงินออมสำรอง หรือไม่มีแผนการใช้จ่ายที่ชัดเจน ส่งผลให้ประสบปัญหาการเงินหลังเกษียณ อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวทางแก้ไขปัญหานี้ได้ อย่างการหาอาชีพหลังเกษียณทำเพื่อเพิ่มรายได้ โดยเลือกอาชีพที่ตรงกับความสนใจ ความรู้ ความสามารถ และสภาพร่างกาย
 

อยากมีชีวิตหลังเกษียณแบบไหนทุกคนเลือกได้

1. เกษียณสุขอยู่อย่างสบาย

จะดีแค่ไหนถ้าคุณได้ใช้เวลาในช่วงบั้นปลายชีวิตได้อย่างสุขสบาย ไปเที่ยวได้ทุกที่ที่คุณอยากไป กินอาหารอร่อยได้อย่างเต็มที่ และไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย
 

2. เกษียณแบบพอมีพอใช้

แม้จะไม่สุขสบายมากนัก แต่ก็ใช้ชีวิตได้อย่างไม่ลำบาก คุณอาจจะไม่สามารถทำในสิ่งที่อยากทำได้เต็มที่นัก อาจจะได้เที่ยวตามใจปีละครั้ง หรือนานๆ ครั้งก็ออกไปกินอาหารอร่อยๆ นอกบ้าน แต่หากคุณเจ็บป่วยกระทันหันขึ้นมา อาจทำให้กระทบกับเงินที่เก็บไว้ได้  
 

3. เกษียณทุกข์อยู่ลำบาก

นอกจากจะไม่สามารถทำสิ่งที่อยากทำได้แล้ว คุณอาจต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างกังวล ขัดสนเงินทอง ยามเจ็บป่วยยิ่งยากลำบากเพราะจะขาดเงินมารักษาพยาบาล ซึ่งคงไม่มีใครอยากใช้เวลาในวัยเกษียณแบบนี้ หลังจากที่ทำงานหนักมาทั้งชีวิต 
 

คุณจะเลือกชีวิตหลังเกษียณแบบไหน ขึ้นอยู่กับการวางแผนเกษียณเพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคตหลังจากหยุดทำงานและไม่มีรายได้ เชื่อว่าทุกคนคงอยากเลือก “เกษียณสุขอยู่อย่างสบาย” คำถามคือ แล้วทำอย่างไรถึงจะมีชีวิตเกษียณอย่างสบาย คำตอบง่ายๆ คือ “เตรียมพร้อมและเริ่มวางแผนการเกษียณตั้งแต่วันนี้” เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตเกษียณสุขอยู่สบายในอนาคตข้างหน้า


อ่านต่อ แบบประกันเพื่อการวางแผนเกษียณ 
หรือเลือกแบบประกันทั้งหมดจาก ชับบ์ ไลฟ์ ได้จากที่นี่
 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ