มีคนกล่าวว่าการเก็บเงินล้านแรกยากที่สุด แต่เมื่อทำได้ ล้านต่อๆ มาจะตามมาได้ไม่ยากเลย หลายคนคิดหาวิธีเก็บเงินให้ได้หลักล้าน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวเพิ่งเริ่มทำงาน ยังมีรายได้ไม่มาก และปกติก็ใช้เงินกันแบบเดือนชนเดือนอยู่แล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากตั้งใจและมีวินัยในการออม โดยเฉพาะเริ่มต้นจากวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้คุณมีความมั่งคั่งทางการเงินได้อย่างมั่นคง 10 วิธีวางแผนการเงินที่สามารถใช้ได้สำหรับทุกวัย
การตั้งเป้าหมายทางการเงินเป็นกระบวนการสำคัญในการวางแผนการเงิน เป็นเหมือนเข็มทิศที่ช่วยนำทางให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และเจาะจงเพื่อบรรลุสิ่งที่ต้องการ เริ่มต้นได้ด้วยการเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมาย และแบ่งเป้าหมายใหญ่และเป้าหมายย่อย เช่น เป้าหมายใหญ่ ออมเงิน 1 ล้านบาท ภายใน 10 ปี
เป้าหมายย่อย ออมเงิน 8,000 บาทต่อเดือน จากนั้น ใช้เครื่องมือ SMART Goals เป็นตัวช่วยให้การตั้งเป้าหมายทางการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในแต่ละขั้นตอน
เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการตั้งเป้าหมายทางการเงิน โดยแบ่งออกเป็นห้าขั้นตอนดังนี้:
แยกบัญชีรายรับ-รายจ่าย ทุกครั้งที่เงินเดือนออกให้แบ่งเงิน 25% - 30% ฝากเข้าบัญชีรายรับ ทำให้เป็นวินัย สม่ำเสมอทุกเดือน และต้องไม่นำเงินส่วนนี้ออกมาใช้ หากไม่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นจริงๆ เพื่อเป็นการจำกัดการใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณวางแผนการใช้เงินได้ดีขึ้น และยังช่วยลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไปด้วยอีกทาง
วิธีที่จะช่วยให้รวยเร็วยิ่งขึ้นคือ การเพิ่มรายได้จากการลงทุนทำอะไรเพิ่มเติมนอกจากงานประจำที่ทำอยู่ จะช่วยเพิ่มรายได้ให้เงินงอกเงยหลายคนเลือกที่จะทำธุรกิจส่วนตัวเป็นรายได้เสริม แต่ถ้ายังคิดไม่ตกว่าตัวคุณชอบทำอะไร ยังมีวิธีลงทุนอื่นๆ เช่น ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี เพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินในอนาคต แต่อย่าลืมว่าก่อนลงทุนต้องตั้งสติศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อน
คนรวยมักมีทัศนคติและแนวความคิดที่แตกต่างออกไป และลักษณะที่ว่าทำให้พวกเขามีรายได้เป็น
กอบเป็นกำ เช่น
แม้จะวางแผนการเงินมาดีแค่ไหน หรือเก็บออมเงินได้มากกว่าที่คิด แต่ความเสี่ยงที่มีอยู่รอบตัวไม่เพียงแต่จะคอยดับฝันคุณ แต่มันอาจส่ง ผลกระทบต่อคนในครอบครัวและเงินในบัญชีของคุณอีกด้วย ความเสี่ยงใกล้ตัว ได้แก่
สูตรยอดนิยมในการจัดสรรเงินแบบ 50-30-20 เป็นเทคนิคที่ช่วยให้สามารถบริหารเงินในแต่ละส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งเงินออกเป็น 50% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าเช่าบ้านหรือผ่อนบ้าน ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง และค่าโทรศัพท์ 30% สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ความบันเทิง และท่องเที่ยว และ 20% สำหรับเงินออม เช่น ออมเงินฉุกเฉิน ออมเงินสำหรับเป้าหมายระยะยาว และการลงทุน ซึ่งสามารถปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละบุคคลได้ ได้แบบสูตร 60-20-20 หรือ 70-20-10 ซึ่งเน้นไปที่การออมเงินหรือการลงทุนเพิ่มเติม การแบ่งเงินเป็นสัดส่วนช่วยให้บริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมการใช้จ่าย และบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ในอนาคต
8.เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน
เงินสำรองฉุกเฉินเปรียบเสมือน “เข็มขัดนิรภัยทางการเงิน” ช่วยให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น กรณีตกงาน หรือเจ็บป่วย เป็นสาเหตุให้ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งเงินสำรองฉุกเฉินในส่วนนี้ควรเก็บอยู่ในระดับที่พอเหมาะ และเตรียมไว้ให้เพียงพอต่อความจำเป็น เช่น อาจจะประเมินจากรายจ่ายต่อเดือน แล้วลงมือเก็บให้ได้สัก 6-10 เท่า เช่น สมมุติค่าใช้จ่ายประจำต่อเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท ก็ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเริ่มต้นที่ 90,000 บาท แต่ทั้งนี้ สามารถปรับเปลี่ยนตามสภาวะความเสี่ยงของแต่ละบุคคลคนได้เช่นกัน
การบริหารจัดการหนี้ เป็นส่วนหนึ่งสำหรับการวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเริ่มได้ด้วยการทำความเข้าใจสถานการณ์หนี้ จดบันทึกรายการหนี้ทั้งหมด จำนวนเงิน และอัตตราดอกเบี้ย เพื่อที่จะได้วิเคราะห์สถานะหนี้ที่เราเผชิญอยู่ จากนั้นตั้งเป้าหมายลดหนี้ ระบุจำนวนเงิน กรอบเวลา เรียงลำดับความสำคัญ เลือกจ่ายหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน ชำระหนี้ให้ตรงเวลาสม่ำเสมอ เพื่อสร้างเครดิตประวัติการชำระที่ดี ซึ่งอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ปรับลดอัตตราดอกเบี้ยลงได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการไม่ก่อหนี้เกินตัว และพยายามรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ไม่ให้เกิน 30% - 40% เพื่อสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรง
การทำประกันชีวิตเพื่อการเกษียณ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ การวางแผนการเงิน มีความรัดกุมมากขึ้น ซึ่งการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ แอนนิวตี้ เรดดี้ (บำนาญแบบลดหย่อนได้) สามารถช่วยได้ เพราะมอบหลักประกันรายได้ในวัยเกษียณที่แน่นอน ด้วยผลประโยชน์เงินบำนาญแบบรายปี เริ่มต้นรับที่อายุครบ 60 ปี หรือ 65 ปี จนถึงอายุ 90 ปี ช่วยให้สามารถแบ่งเบาภาระและคลายกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
ความเสี่ยงเหล่านี้ไม่มีใครบอกได้ล่วงหน้า แต่สามารถเตรียมความพร้อมรับมือได้ไม่ยาก หลักประกันความมั่นคงที่ช่วยลดความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเงินออมของคุณที่ง่ายที่สุดคือการมีประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันภัยด้านต่างๆ เมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุก็ไม่จำเป็นต้องไปถอนเงินก้อนใหญ่ออกมาใช้ การทำประกันช่วยลดความเสี่ยงและภาระค่าใช้จ่ายก้อนโต นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญขั้นต้นของการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งมีส่วนช่วยให้เป้าหมายที่จะมีเงินใช้อย่างมั่งคั่งไม่ไกลเกินเอื้อมอีกด้วย
ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ผู้เอาประกันภัยควรศึกษา อ่าน และทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนการตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง ทั้งนี้โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่ม เติมจากกรมธรรม์ประกันภัย
เพื่อรับคำแนะนำการวางแผนอนาคตที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ หรืออ่านต่อแบบประกันทั้งหมดจาก ชับบ์ ไลฟ์ ได้จากที่นี่
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ