เลือกประกันชีวิตแบบไหนดีที่เหมาะสมกับตัวเอง
ความดันโลหิตต่ำภัยอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเพื่อรับมือกับภาวะความดันโลหิตต่ำที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเอง มาทำความเข้าใจทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความดันต่ำ พร้อมวิธีหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากภาวะความดันตํ่า ไปพร้อมกันได้เลย
ภาวะความดันต่ำ (Hypotension) คือภาวะค่าความดันภายในเลือดที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของค่าความดันภายในเลือดปกติ ภาวะความดันต่ำจึงเป็นอีกหนึ่งอาการเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของร่างกายในขณะนั้น ซึ่งโดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า เนื่องจากคิดว่าอันตรายกว่า แต่รู้หรือไม่ว่าความดันต่ำเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงและอันตรายไม่แพ้ความดันโลหิตสูงเลยทีเดียว
ต้องอธิบายก่อนว่าความดันต่ำคือภาวะไม่ใช่โรค ด้วยเพราะลักษณะอาการที่ไม่ได้พัฒนาไปสู่โรคเรื้อรังอื่นๆ แต่มักแสดงอาการออกมาอย่างเฉียบพลัน เช่น หน้ามืด เวียนหัว อ่อนเพลีย รวมถึงอาการใจสั่นร่วมด้วยได้ ซึ่งนอกจากอาการแสดงที่กล่าวมาแล้วนั้น เราสามารถเช็คได้ว่าตนเองมีภาวะความดันต่ำหรือไม่ ได้จากการตรวจวัดความดันโลหิต (Blood Pressure Monitoring) ผ่านค่าตัวเลขความดันโลหิตตัวบน หรือแรงดันขณะหัวใจกำลังบีบตัว (Systolic blood pressure) และความดันโลหิตตัวล่าง หรือแรงดันขณะหัวใจกำลังคลายตัว (Diastolic blood pressure) ซึ่งหากมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท จะเท่ากับภาวะความดันต่ำนั่นเอง สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ภาวะความดันต่ำ ได้แก่
● เวียนศีรษะ
● คลื่นไส้
● อ่อนแรง
● ชีพจรเต้นเร็ว
● มองเห็นภาพซ้อน เกิดความสับสน
● ไม่มีสมาธิ
● ผิวเย็น ชื้น ซีด และหายใจเร็ว
อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความดันต่ำ หากมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม
จะเห็นว่าภาวะความดันต่ำนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แม้แต่การทำกิจกรรมปกติในช่วงที่ร่างกายพักผ่อนน้อย ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หน้ามืดเพราะความดันต่ำกะทันหันขึ้นมาได้ ซึ่งการเกิดภาวะความดันต่ำแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ภาวะความดันต่ำชนิดเฉียบพลัน จากการเปลี่ยนท่าทางกะทันหัน การพักผ่อนหรือการทำกิจกรรมต่างๆ และภาวะความดันต่ำชนิดเรื้อรัง ผู้ที่มีภาวะความดันต่ำอยู่แล้ว ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะภาวะความดันต่ำในผู้สูงวัย ยิ่งต้องใส่ใจร่างกายมากเป็นพิเศษ ดังนี้
เพราะน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจะมีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือด ผู้ที่มีภาวะความดันต่ำจึงควรอาบน้ำอุ่น เพื่อคงระดับความดันและรักษาอุณหภูมิให้ร่างกายไว้
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันต่ำได้ง่าย ผู้ที่ดื่มน้ำน้อยจนมีผลให้เกิดอาการเวียนหัว และหน้ามืดได้บ่อยกว่าปกติ
เช่น การล้มหมดสติ รวมถึงภาวะสมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจากภาวะความดันต่ำที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ตลอดจนการทำงานของสมองและหัวใจร่วมด้วย
อย่างที่ทราบกันดีว่าการลุก-นั่ง ก้ม-เงยเร็ว เป็นที่ทำให้เราหน้ามืด เวียนหัวได้ง่าย การชะลอความเร็วเมื่อต้องขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น จากนอนเป็นนั่งแล้วค่อยปรับเป็นการยืน รวมถึงการยกศีรษะสูงในขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและช่วยลดโอกาสของภาวะความดันต่ำได้เป็นอย่างดี
ภาวะความดันต่ำเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แม้จะไม่ใช่โรคแต่ก็สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ การรู้จักสังเกตอาการและดูแลตนเองอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำอุ่น การเช็คสุขภาพสม่ำเสมอ การระมัดระวังอุบัติเหตุ และการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ
นอกจากการดูแลตนเองแล้ว การทำประกันสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้มีหลักประกันทางการเงินเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพที่ไม่คาดคิด ประกันสุขภาพไม่เพียงช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล แต่ยังทำให้เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
หมายเหตุ: ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
● โรงพยาบาลสมิติเวช
เลือกประกันชีวิตแบบไหนดีที่เหมาะสมกับตัวเอง
FAQ: เหตุใดต้องตรวจสุขภาพก่อนสมัครทำประกัน
ประกันสุขภาพ 101 คู่มือการเริ่มต้นเลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ