เคยสงสัยไหมว่าไตทำงานหนักแค่ไหนในแต่ละวัน? เสมือนโรงงานรีไซเคิลขนาดยักษ์ที่ไม่เคยหยุดพัก ไตคัดกรอง ดูดซึม และขับของเสียออกจากร่างกายอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่เมื่อโรงงานรีไซเคิลนี้เริ่มสะดุด โรคไตเรื้อรังอาจคืบคลานเข้ามา ทำให้ร่างกายต้องการ ฮีโร่ มาช่วยเหลือ นั่นคือ "การฟอกไต" วิธีการที่เปรียบเสมือนทีมกู้ภัยฉุกเฉินที่เข้ามาช่วยให้ไตยังคงทำหน้าที่ขับสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างต่อเนื่อง
การฟอกไตไม่ใช่เพียงการรักษา แต่เป็นการมอบโอกาสให้ร่างกายได้หายใจ ได้ฟื้นฟู และได้ดำเนินชีวิตต่อไป เพราะสารพิษที่ตกค้างในร่างกายอาจเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่รอวันปะทุแล้วอยากรู้ไหมว่า การฟอกไตทำงานอย่างไร? ทำไมจึงสำคัญนักสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง? และจะเตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องเข้ารับการฟอกไต? มาค้นหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้
การฟอกไต (Dialysis) เป็นวิธีการทางการแพทย์ที่ใช้แทนที่การทำงานของไตที่เสื่อมสมรรถภาพ โดยทำหน้าที่กำจัดของเสีย สารพิษ และน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ปกติแล้วไตมีหน้าที่กรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือด ผ่านกระบวนการปัสสาวะ เมื่อไตเสื่อมสมรรถภาพจากโรคไตวายเรื้อรังหรือภาวะไตวายเฉียบพลัน ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง การฟอกไตจึงเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของไตสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
ป่วยด้วย “ โรคไต” สังเกตได้จาก “ปัสสาวะ”
ในแต่ละวันไตจะทำหน้าที่คัดกรองเลือดอยู่ที่ประมาณ 180 ลิตรต่อวัน และดูดซึมสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กลับเข้าสู่ร่างกาย ก่อนจะขับเอาสารที่ไม่เป็นประโยชน์ทิ้งไปในรูปแบบของปัสสาวะ ทันทีที่ไตทำงานผิดปกติจึงส่งผลโดยตรงต่อระบบปัสสาวะของร่างกาย โดยสามารถสังเกตได้จากสัญญาณต่างๆ ดังนี้
เมื่อไตไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้เหมือนเดิม สารพิษและของเสียต่าง ๆ จะถูกสะสมหรือคั่งค้างอยู่ในร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว “การฟอกไต” จึงเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาเพื่อบำบัดการทำงานระบบขับของเสียของผู้ป่วยโรคไต ให้สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด อย่างไรก็ตาม โรคไตยังถูกแบ่งออกเป็น 5 ระยะด้วยกัน ซึ่งการฟอกไตจะถูกวางแผนให้ใช้ได้ในผู้ป่วยโรคไตตั้งแต่ระยะที่ 4 เนื่องจากไตสามารถทำงานได้น้อยกว่า 30% ไปแล้ว
โดยการฟอกไตสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ดังนี้
หนึ่งในวิธีช่วยทดแทนการทำงานของไต เพื่อช่วยกำจัดของเสียและน้ำออกจากเลือด ซึ่งใช้วิธีการคล้ายกับการให้น้ำเกลือหรือการให้เลือดปกติ โดยให้เลือดได้เข้าสู่ตัวกรองเลือดแล้วไหลกลับเข้าสู่ร่างกายใหม่ ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรือมากกว่า โดยผู้ป่วยต้องฟอกเลือดอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
วิธีฟอกไตด้วยน้ำยาช่วยกรองของเสียในร่างกายผ่านช่องท้อง โดยการฝังท่อล้างช่องท้องไว้ในช่องท้องผู้ป่วย ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ป่วยสามารถทำเองที่บ้านหรือที่ทำงานได้ทุกวัน แต่ต้องทำการเปลี่ยนน้ำยากรองของเสียวันละ 4-5 ครั้ง พร้อมติดตามอาการ (Follow-up) ทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์เจ้าของไข้
นอกจากวิธีฟอกไตแต่ละวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคนแล้ว สิ่งที่ต้องระมัดระวังก่อนเข้ารับการฟอกไต คือเรื่องของโรคประจำตัวและยาที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วยตั้งแต่แรก เพื่อประเมินวิธีฟอกไตและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะภาวะการติดเชื้อ ภาวะน้ำเกิน ภาวะร่างกายขาดน้ำ และอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการฟอกไต โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินที่ต้องใส่ใจดูแลมากเป็นพิเศษ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารรสจัด จำกัดปริมาณเครื่องดื่ม และปฏิบัติตามคำแนะนำอื่นๆ ของแพทย์อย่างเคร่งครัด และเตรียมพร้อมรับมือด้วย ประกันสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุม
ข้อมูลอ้างอิง
ที่มา: Website : honestdocs (hd)
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง