หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน” เป็นข้อความเตือนใจที่สำคัญสำหรับผู้ลงทุนทุกท่าน เพราะการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมด หากไม่ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดจาก
การลงทุนจะมีอะไรบ้างนั้น บทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจความเสี่ยง และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนอย่างมีสติ
การลงทุน คือ การใช้เงินลงทุนเพื่อคาดหวังผลตอบแทนในอนาคต โดยเป้าหมายหลักของการลงทุนคือ
การเพิ่มพูนมูลค่าของเงิน ให้มากกว่าการฝากเงินในธนาคาร ซึ่งปัจุบันมีกลุ่มคนหลากหลายอาชีพทั้งนักเรียน นักศึกษา พนักงานออฟฟิศ และข้าราชการ หันมาสนใจเรื่องการลงทุนกันมากขึ้น โดยคาดหวังผลตอบแทน ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ ซื้อประกันชีวิต หรือส่งลูกเรียนหนังสือ รวมถึงให้มีเงินเพียงพอไว้ใช้ชีวิตหลังเกษียณ
ความเสี่ยงจากการลงทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อตลาดโดยรวม หรือต่อกลุ่มสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน ผู้ลงทุนไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงประเภทนี้ได้ แต่สามารถลดผลกระทบได้โดยการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ตัวอย่างของความเสี่ยงที่เป็นระบบ เช่น
1. ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ : ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เงินเฟ้อ หรือภาวะดอกเบี้ยสูง ส่งผล
กระทบต่อผลประกอบการของบริษัท และส่งผลต่อมูลค่าหุ้นในตลาดโดยรวม
2. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย : การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของตราสารหนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มูลค่าหรือราคาของตราสารหนี้ที่ถือไว้ปรับลดลง ตรงกันข้ามหากอัตราดอกเบี้ยลดลง จะส่งผลให้มูลค่าของตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
3. ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ : การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุนในต่างประเทศ
4. ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ : เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงคราม ความขัดแย้งทางการเมือง หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และส่งผลต่อตลาดโดยรวม
ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ หมายถึง ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อ บริษัท หรือ สินทรัพย์ เฉพาะรายบุคคล ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดโดยรวม นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงประเภทนี้ โดยการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมได้ ตัวอย่าง เช่น
1. ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ : เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลต่อผลประกอบการ และสถานะทางการเงินของธุรกิจ ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของธุรกิจส่งผลต่อ การบรรลุเป้าหมายทางการเงินของธุรกิจ และความยั่งยืนของบริษัท ตัวอย่างความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ เช่น ภาระหนี้สินที่สูงขึ้น หรือการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นต้น
2. ความเสี่ยงทางอุตสาหกรรม : เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกองค์กร ส่งผลกระทบต่อกลุ่มบริษัท หรืออุตสาหกรรมเดียวกัน
3. ความเสี่ยงทางการเงิน : ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ
หรือแหล่งเงินทุนที่บริษัทใช้เพื่อระดมทุนสำหรับการดำเนินงานการลงทุน หรือการขยายธุรกิจ ความเสี่ยงประเภทนี้ อาจส่งผลต่อสภาพคล่อง สถานะทางการเงิน และความสามารถในการดำเนินงานของบริษัท
4. ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ : ความเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันเพื่อควบคุม หรือบิดเบือนราคาของหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวพฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อนักลงทุน ทั่วไป และ ตลาดหลักทรัพย์ โดยรวม ตัวอย่างเช่น การซื้อขายหุ้นเพื่อสร้างภาพลวงตาว่ามีความต้องการซื้อหรือขายหุ้นจำนวนมากส่งผลให้ราคาหุ้นขึ้น หรือลงอย่างผิดปกติ
บริหารความเสี่ยงด้วยการวางแผนการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง คือ การลงทุนในรูปแบบสินทรัพย์ที่หลากหลายและไม่ซ้ำซ้อนกันจนเกินไป เพื่อไม่ให้ขาดทุนหนักจากความผันผวนในตลาดหรือสินทรัพย์นั้นๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ แต่ก็แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดในกรณีที่สินทรัพย์นั้นๆ อยู่ในภาวะให้ผลตอบแทนสูงมากกว่าชนิดอื่นๆ แล้วจะกระจายการลงทุนในสัดส่วนเท่าไหร่ดี อันนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายส่วนบุคคลเป็นสำคัญ เช่น ต้องการเกษียณอายุ ซื้อบ้านใหม่ แต่งงานสร้างครอบครัว เก็บเป็นทุนการศึกษาลูก ฯลฯ
ขอยกตัวอย่างการเกษียณอายุ เพราะน่าจะเป็นเป้าหมายที่จำเป็นสำหรับคนทุกคน เพื่อเก็บเงินไว้ใช้ในตอนแก่ชราเมื่อไม่ได้ทำงานหรือมีรายได้ประจำแล้ว หากเริ่มวางแผนการเงินตอน “วัยเริ่มต้นทำงาน” อายุ 21-30 ปี มีระยะเวลานานกว่าจะถึงตอนเกษียณ ก็อาจจะลงทุนแบบเสี่ยงได้มากหน่อย เช่น การลงทุนใน “ตลาดทุน” ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น แต่มีแนวโน้มที่จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น หุ้นหรือกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งหากอยู่ในภาวะขาดทุนเพราะเป็นตลาดขาลง ก็ไม่กังวลใจมากเพราะมีเวลาอีกนานกว่าจะเกษียณ โดยยิ่งการลงทุนมีระยะยาวมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการขาดทุนก็มีแนวโน้มลดลง โดยสรุปสามารถลงทุนในหุ้นได้ 70-80% ส่วนที่เหลืออาจจะเป็นเครื่องมือการเงินประเภท “ตลาดเงิน” จำพวก เงินฝากธนาคาร พันธบัตรหรือตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนไม่สูงมาก จะได้แบ่งส่วนที่ปกป้องเงินลงทุนเราไม่ให้มีความเสี่ยงสูงทั้งหมด
แต่หากคิดว่าจะนำเงินออมทั้งหมดลงทุนไว้กับ “ตลาดเงิน” ที่มีความเสี่ยงต่ำทั้งหมดแล้ว แม้ความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นจะต่ำมาก แต่อย่าลืมว่าความเสี่ยงจากการ “เสียโอกาสรับผลตอบแทน” ก็มีเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น “ไม่กระจายการลงทุนเท่ากับความเสี่ยง” จึงควรแบ่งเงินลงทุนไว้ในหลายๆ ชนิดการลงทุน
ทั้งนี้ หากใครที่ทำงานมาซักระยะแล้ว เริ่มมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ลองพิจารณาประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลสูงสุดปีละ 300,000 บาท (กรณีไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนฯ จากประกันชีวิตรูปแบบอื่น) ประกันแบบบำนาญส่วนใหญ่ความเสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดี มีความแน่นอนและชัดเจน มีการรับประกันการจ่ายเงินบำนาญ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละแบบประกันฯ ด้วยนะ
อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจจาก ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต ได้ที่:
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ