ข้ามไปหน้าหลัก
ประกันชีวิต

เปิดบัญชีให้ลูก ส่งเสริมการออมเงินตามวัย เตรียมพร้อมสู่อนาคตที่มั่นคง

04/2024
mom and child



การออมเงินนั้นสามารถฝึกได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยอาจจะเริ่มที่วัย 2 ขวบขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่พอจะเรียนรู้ว่าของสิ่งใดห้ามนำเข้าปากแล้ว แต่หากเล็กกว่านี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องนั่งประกบด้วย เพราะลูกอาจเผลอเอาเหรียญเข้าปากกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ เรามีวิธีบ่มเพาะนิสัยการออมเงินของเด็กในแต่ละวัยมาฝาก

 

พื้นฐานการออมเงินฝึกให้ลูกได้ตั้งแต่เด็ก


 

1. ฝึกให้ลูกหยอดกระปุกออมสิน


เด็กในช่วงวัย 2-5 ขวบ นี้ ค่อนข้างจะติดเล่นเอาเสียมากๆ และอาจจะยังไม่เข้าใจว่าการออมเงินนั้นทำไปเพื่ออะไร และทำไมต้องออมเงิน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก เช่น มองหากระปุกออมสินที่มีลวดลายการ์ตูนหรือสีสันสดใส หรืออาจซื้ออุปกรณ์มาให้ลูกได้เพ้นท์สีเอง ลูกๆ จะได้สนุกกับการหยอดเหรียญ โดยในขณะที่ลูกหยอดเงินนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจพูดหรือปรบมือชื่นชมด้วย ครั้งต่อไปเมื่อเขาเจอเหรียญ เขาก็จะนึกถึงกระปุกออมสินของตัวเองขึ้นมาได้ 


2. สอนให้ลูกออมเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้


ในวัย 6-12 ขวบนี้เด็กจะเริ่มสร้างเงื่อนไข เริ่มอยากได้ของเล่น และอยากไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงสามารถหยิบนำเอาสิ่งที่ลูกสนใจมาเป็นตัวกระตุ้นให้รู้สึกอยากออมเงินได้ ซึ่งนอกจากจะสร้างนิสัยการออมแล้วยังได้ฝึกความอดทนไปด้วยในตัว โดยอาจเริ่มต้นพาไปดูของเล่น หรือถามว่าอยากไปไหนในวันหยุดสัปดาห์ถัดไป จากนั้นสร้างเงื่อนไขโดยการให้ลูกนำเงินที่เหลือจากการไปโรงเรียนมาหยอด พอถึงวันหยุดสัปดาห์ถัดมา ให้คุณพ่อคุณแม่เปิดกระปุกพร้อมกับลูก แล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อของเล่นที่ลูกต้องการ แต่หากเงินยังไม่พอ ให้คุณพ่อคุณแม่บอกให้ไปหยอดต่อจนพอไว้สัปดาห์หน้าค่อยกลับมาซื้อใหม่ แต่หากอยากให้กำลังใจลูกในครั้งแรกก็อาจจะออกในส่วนที่เหลือให้ แต่ต้องสอนว่าครั้งหน้าเงินที่ออมไม่พอ ต้องรอจนกว่าจะพอ หรืออาจจะกระตุ้นว่าหยอดได้เท่าไหร่ เดี๋ยวคุณพ่อคุณแม่เพิ่มให้อีกเท่าก็ได้

 

3. เปิดบัญชีให้ลูกฝากเงินกับธนาคาร


วัย 13 ปีขึ้นไปลูกเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้ว มีความเข้าใจหลักการต่างๆ มากขึ้น และน่าจะอยากได้ของชิ้นใหญ่ที่มีราคาเพิ่มมากขึ้นตามตัวด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปเปิดบัญชีธนาคารของตัวลูกเอง แล้วสอนเรื่องวินัยในการออม โดยนำเงินออมที่เก็บได้ในแต่ละเดือนไปฝากไว้ที่ธนาคาร พอครบปีลูกก็สามารถถอนเงินที่เก็บไว้มาซื้อของที่ตัวเองอยากได้ ซึ่งนอกจากเงินฝากสุทธิที่ลูกเก็บหอมรอมริบด้วยตัวเองแล้ว ลูกยังจะได้เรียนรู้หลักการการฝากเงินออมทรัพย์ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้ด้วย แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ในปัจจุบันค่อนข้างต่ำ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจให้โบนัสลูกด้วยการสบทบเงินจากยอดเงินฝากให้อีก จะให้ 10% หรือมากกว่านั้นก็ได้ตามที่คุณพ่อคุณแม่เห็นว่าเหมาะสม
 

4. ปกป้องเงินเก็บให้ลูกด้วยการทำประกันสุขภาพ

เมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น วัยที่มีความอยากรู้อยากลองซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพตามมา การทำประกันสุขภาพให้ลูกจะช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยและจากอุบัติเหตุ ซึ่งแบบประกัน 20SLPA Package สามารถตอบโจทย์ได้ ด้วยอัตราเบี้ยประกันที่ไม่สูงมาก แต่มาพร้อมกับความคุ้มครองชีวิต ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและผ่าตัดกรณีผู้ป่วยใน ความคุ้มครองโรคร้ายแรง 50 โรค ความคุ้มครองอุบัติเหตุ รวมทั้งมอบเงินชดเชยรายได้กรณีต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และยกเว้นการชำระเบี้ยประกันชีวิตกรณีทุพพลภาพ

5. สอนลูกให้รู้จักการลงทุน

การสอนลูกให้รู้จักการลงทุนในหุ้นกู้ หรือการซื้อกองทุนรวมตั้งแต่เด็กเป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้พวกเขาเข้าใจเรื่องเงิน การออม และการบริหารความเสี่ยง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาในอนาคต

พ่อแม่สามารถอธิบายความหมายของการลงทุนให้ลูกเข้าใจง่าย ๆ ว่าการลงทุน เงินทุน เปรียบเสมือนกับการปลูก ต้นกล้า การติดตามผล วิเคราะห์ตลาด และปรับกลยุทธ์ เปรียบเสมือนการดูแล รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ส่วนเวลาและความอดทน เปรียบเสมือนการรอคอยให้ต้นไม้เติบโต และผลตอบแทนที่ได้ เปรียบเสมือนผลไม้ที่เก็บเกี่ยวได้

 

เลือกธนาคารเปิดบัญชีให้ลูกควรพิจารณาอะไรบ้าง

  • ดอกเบี้ย: เลือกธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง เพียงพอที่จะชนะอัตราเงินเฟ้อ เพื่อให้เงินออมงอกเงย
  • ค่าธรรมเนียม: ตรวจสอบค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการฝาก-ถอน
  • บริการ: เลือกธนาคารที่มีบริการดี สะดวก รวดเร็ว ประทับใจ ตอบคำถาม ข้อสงสัยลูกค้าได้
  • สาขา: เลือกธนาคารที่มีสาขาใกล้บ้าน หรือมีตู้ ATM สะดวกในการฝาก-ถอน
  • ความปลอดภัย: เลือกธนาคารที่มีแอป โอน-จ่าย-ถอน ที่ปลอดภัยป้องกันมิจฉาชีพได้
  • สิทธิประโยชน์: เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์สำหรับเด็ก ของแต่ละธนาคารที่ให้ความคุ้มค่าที่สุด

     

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับเปิดบัญชีให้ลูก


เอกสารที่ต้องใช้เปิดบัญชีให้ลูกของแต่ละธนาคารอาจแตกต่างกันไปแต่โดยส่วนใหญ่แล้วเอกสารหลัก ๆ ที่ต้องใช้มี ดังนี้
 

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย
  • เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของบิดา/มารดา
  • สูติบัตร/บัตรประจำตัวประชาชนของบุตร (เฉพาะผู้เยาว์อายุ 7-14 ปีที่มีบัตรประจำตัวประชาชน)
  • ทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา และบุตร
  • ทะเบียนสมรสของบิดา/มารดา หรือหนังสือรับรองบุตร (กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส)

     


การออมเงินนั้นเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังไว้ตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อสร้างนิสัยการใช้และจัดสรรเงินที่ดีต่อไปในอนาคต ซึ่งนอกจากการออมเงินในรูปแบบเงินฝากออมทรัพย์แล้ว เมื่อโตขึ้นอีกหน่อยคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะสอนวิธีการออมเงินประเภทอื่นๆ ที่ทำให้เงินงอกเงยขึ้นได้ ทั้งการออมเงินจากการซื้อกองทุนรวม พันธบัตรรัฐบาล หรือจะเป็นการออมผ่านการมีประกันชีวิตก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี เพราะนอกจากจะให้ผลตอบแทนแล้ว ยังคุ้มครองชีวิตอีกด้วย

 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ