ข้ามไปหน้าหลัก
การจัดการด้านการเงิน

วางแผนเกษียณอย่างไรให้มีเงินใช้อย่างเพียงพอ

09/2024
start savings for retirement

การวางแผนเกษียณอายุเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรทำ ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ยิ่งเริ่มได้เร็ว ยิ่งได้เปรียบ หลายคนมองเรื่องเกษียณเป็นเรื่องอีกยาวไกลแต่หากเริ่มออมเงินตั้งแต่วันนี้ก็จะมีเวลาทำให้เงินงอกเงยได้มากขึ้น และไม่ต้องรู้สึกกดดันจนเกินไปเมื่อเข้าใกล้วัยเกษียณ ซึ่งบทความนี้จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักขั้นตอน วางแผนเกษียณ ที่จะช่วยให้มีเงินเพียงพอ ใช้จ่ายช่วงบั้นปลายชีวิต ให้เกษียณอย่างมั่นคง สุขใจ และใช้ชีวิตอย่างมีอิสระอย่างที่ต้องการ
 

4 ขั้นตอนวางแผนเกษียณ

ขั้นตอนที่ 1 ประเมิณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้หลังเกษียณ  

เริ่มขั้นตอนแรกด้วยการคำนวนค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้หลังเกษียณอย่างละเอียด เพื่อให้รู้ว่าต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่ ถึงจะมีเงินใช้เพียงพอหลังเกษียณได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน ซึ่งวิธีประเมินให้กำหนดอายุที่ต้องการเกษียณ หากวางแผนเกษียณอายุตอน 65 ปี และคิดว่าตัวเองจะมีอายุถึง 80 ปี โดยคำนวนค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ต่อเดือนรวมกับคิดเผื่ออัตตราเงินเฟ้อในอนาคต 3 % แล้วว่าอยู่ 30,000 บาทต่อเดือน เมื่อนำค่าใช้จ่ายต่อเดือนมาคำนวนกับจำนวนปีที่จะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ เงินที่ต้องเตรียมไว้ก็จะมีทั้งสิ้น 5,400,000 บาท สำหรับใช้ชีวิตหลังเกษียณ 15 ปี 
 

ขั้นตอนที่ 2 เช็กเงินเก็บที่มีอยู่ในปัจจุบัน

หลังจากทราบจำนวนเงินที่ต้องเตรียมสำหรับใช้หลังเกษียณแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ตรวจสอบเงินเก็บที่มีอยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ยังขาดเหลืออีกเท่าไหร่ วิธีการเริ่มจากจดบันทึกรายการเงินเก็บทั้งหมด เช่น เงินฝากธนาคาร กองทุนรวม ประกันออมทรัพย์ หุ้น และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ให้รวมยอดเงินทั้งหมด หากยอดเงินยังมีไม่เพียงพอตามจำนวนที่ต้องการเตรียมไว้ ให้เริ่มวางแผนการลงทุนในขั้นตอนตอ่ไป

 

ขั้นตอนที่ 3 วางแผนลงทุนสร้างเงินออมเพื่อการเกษียณ

เมื่อทราบจำนวนเงินที่ต้องออมเพิ่ม ขั้นตอนต่อไปคือ วางแผนการลงทุน เพื่อสร้างเงินออม เป็นวิธีการที่ช่วยให้เงินออมงอกเงย ให้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินเฉย ๆ แต่การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เหมาะสม รับมือกับความเสี่ยงได้ การศึกษาความเสี่ยงไว้จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ โดยการลงทุนจะแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ คือ

● ระดับความเสี่ยงสูง : กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม กองทุนรวมน้ำมัน กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมหุ้น หุ้นสามัญ อนุพันธ์

● ระดับความเสี่ยงปานกลาง : ตราสารหนี้ภาคเอกชน กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว กองทุนรวมผสม กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพย์สินเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs)

● ระดับความเสี่ยงต่ำ : กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ เงินฝาก พันธบัตร ตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี 
 

ยกตัวอย่างเช่น หากเริ่มต้นวางแผนเกษียณตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยเก็บเงินเดือนละ 2,500 บาท หรือปีละ 30,000 บาท เป็นระยะเวลา 10 ปี หรือคิดเป็นเงินต้น 300,000 บาท ระหว่างที่เก็บออมก็เริ่มนำเงินไปลงทุน โดยคิดอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 7% ต่อปี จนอายุ 65 ปี เงินก้อนนี้จะเติบโตถึง 3,407,542 บาท

ซึ่งหากเริ่มช้าไป 10 ปี หรือเริ่มออมที่อายุ 35 ปี เก็บเท่าๆ กัน เป็นระยะเวลา 10 ปี จนอายุ 44 ปี ระหว่างทางมีการเอาเงินไปลงทุนด้วยผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 7% เหมือนกัน เมื่ออายุ 65 ปี จะมีเงิน 1,732,222 บาทเท่านั้น หรือต้องเพิ่มเงินออมต่อปีให้มากขึ้นเกือบสองเท่าเพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน

การวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ ไม่ใช่เรื่องของคนที่อายุ 40-50 ปี เมื่อเริ่มมีรายได้ ควรเริ่มวางแผนแต่เนิ่นๆ เพราะจะใช้เงินทำงานน้อยกว่า และมีโอกาสได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าด้วย
 

ขั้นตอนที่ 4 ติดตามผลและปรับแผนตามความจำเป็น

เมื่อได้แผนการลงทุนแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบรายได้ รายจ่าย ผลตอบแทนจากการลงทุน และพิจารณาระดับความเสี่ยง เพื่อให้แน่ใจว่าแผนการลงทุนยังสามารถบรรลุผลได้ตรงตามเป้าหมาย 
 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ