ข้ามไปหน้าหลัก
ประกันชีวิต

สร้างวินัยทางการเงินตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน

05/2024
business women with her coffee



การสร้างชีวิตที่มีความมั่นคงทางการเงินนั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้มีเงินในจำนวนมากก่อนค่อยสร้าง และการมีวินัยทางการเงินไม่จำเป็นต้องมีเงินออมไว้เยอะๆ ถึงจะเรียกว่ามีวินัยทางการเงิน ซึ่งในช่วงเริ่มต้นเข้าสู่วัยทำงานเป็นช่วงที่มีรายได้ไม่สูงมาก ก็สามารถสร้างรากฐานทางการเงินในการใช้จ่ายที่จำเป็นได้ โดยเริ่มต้นจากการรู้จักประเมินสถานะทางการเงินของตนเองและไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัวจนเกินไป

 

1. เลิกใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือน

หลายคนคงเคยผ่านช่วงวัยที่เริ่มทำงานหาเงินเอง ในช่วงแรก อาจจะตื่นเต้นกับการมีเงินเดือน อยากจะชอปปิง ️ กินเที่ยวให้เต็มที่ คิดว่า "เงินของเรา จะใช้อย่างไรก็ได้" แต่รู้หรือไม่ ? การใช้จ่ายแบบไม่วางแผน อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางการเงินในอนาคต เช่น การหมดเงินก่อนสิ้นเดือน ไม่เหลือเงินไว้ให้เก็บ หรือต้องหยิบยืม กู้เงิน และในท้ายที่สุดกลายเป็นติดนิสัยใช้จ่ายเกินตัวทั้งที่อย่างน้อยควรหักเงินบางส่วนเก็บออมไว้เล็กน้อยบ้างก็ยังดี วิธีแก้ปัญหาเริ่มได้ง่ายๆ โดยการหักเงินออม 10% ของเงินเดือนไว้ตั้งแต่วันแรกที่ได้เงินมา การจดบันทึกรายรับรายจ่าย และการแบ่งเงินเป็นหมวดหมู่ เช่น ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และเงินออม เป็นต้น 

 

2. อย่าใช้เงินในอนาคต

ในปัจจุบัน บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เข้าถึงง่าย เต็มไปด้วยโปรโมชันผ่อน 0% ดึงดูดใจให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยอย่างสะดวกสบาย

ข้อดีของบัตรเครดิต

- ผ่อน 0% ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติม
- ซื้อของก่อน จ่ายเงินทีหลัง
- สะสมแต้มเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ

แต่การใช้บัตรเครดิตก็แฝงไปด้วยอันตรายหากใช้ไม่ระวัง ซึ่งวิธีการใช้บัตรเครดิตสามารถทำได้อย่างมีวินัย เช่น ใช้ในยามที่ต้องการซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ซื้อในมูลค่าที่ผ่อนไหว รวมถึงใช้แล้วจำเป็นต้องวางแผนการเงินอย่างรอบคอบและฝึกที่จะมีวินัยทางการเงิน

 


3. ไม่สร้างการยอมรับด้วยสิ่งของ

สิ่งที่ทำให้เรามีคุณค่าไม่ได้อยู่ที่ของที่ใช้ แต่เป็นความสามารถ ความคิด และความดี การซื้อของแบรนด์เนมราคาแพงไม่ใช่สิ่งผิด ถ้าชอบมันจริง ๆ และใฝ่ฝันมานานว่าอยากได้ หากซื้อแล้วไม่เดือดร้อน ก็สามารถซื้อได้ แต่ถ้าซื้อของฟุ่มเฟือยตามกระแส เพื่อให้เพื่อนหรือคนรอบข้างสนใจ จนขาดวินัยทางการเงิน อาจไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ


4. ทํางานอย่างตั้งใจและอดทน

เงินเดือนและค่าตอบแทนจากงาน มักขึ้นอยู่กับ "ความสามารถ" ของตนเอง ตอนเริ่มทำงานใหม่ ประสบการณ์ยังน้อย เงินเดือนก็ยังไม่มาก เลยต้องมีวินัยทางการเงิน อดทนทำงาน พัฒนาฝีมือไปเรื่อย ๆ เงินเดือนจะค่อย ๆ ขึ้นเอง ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามหากมีความพยายาม และมีความมุ่งมั่นที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน ท้ายที่สุดก็จะไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้แน่นอน


5. ป้องกันเงินเก็บรั่วไหล

การทำประกันเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการสร้างวินัยทางการเงิน และช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการที่เงินเก็บจะรั่วไหลได้ เนื่องจากภาระทางการเงินที่เกิดจากการจ่ายเบี้ยประกันต่าง ๆ ล้วนเป็นภาระที่สร้างมูลค่า และช่วยปกป้องอนาคตทางการเงิน เช่น การทำประกันชีวิตช่วยคุ้มครองคนข้างหลัง และยังวางใจได้ว่าครอบครัวจะมีชีวิตที่ไม่ลำบาก หากขาดเสาหลักไป และในส่วนของการทำประกันสุขภาพก็จะช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ป้องกันไม่ให้เงินออมหมดไปในกรณีเจ็บป่วยและต้องรักษาตัว นอกจากนี้การทำประกันยังช่วยกระจายความเสี่ยงโดยเป็นการแบ่งเงินลงทุนในประกัน เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่แน่นอน ดังนั้น การทำประกันจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างวินัยทางการเงินและป้องกันความเสี่ยงทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

 


6. ป้องกันเงินเก็บรั่วไหล

รากฐานการคิดต่อการใช้จ่ายและการออมเงินในช่วงเริ่มต้นทำงาน จะช่วยปรับปรุงพฤติกรรมในการเก็บออมและการวางแผนทางการเงินสำหรับวัยทำงานได้เป็นอย่างดี หากมีโอกาสได้เริ่มเก็บออมก่อน ก็มีเงินสำรองฉุกเฉินตุนไว้ให้สบายใจขึ้นได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อน และหากมีสภาพคล่องมากขึ้น

อยากนำเงินเก็บมาสะสมในประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ได้รับความคุ้มครองชิวิต และสิทธิในการลดหย่อนภาษีจากรายได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสร้างวินัยทางการเงิน


สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ