ข้ามไปหน้าหลัก
การจัดการด้านการเงิน

สอนวิธียื่นภาษีออนไลน์แบบเข้าใจง่ายในทุกขั้นตอน

09/2024
submit tax online button


ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์แบบเข้าใจง่ายพร้อมกับเข้าใจความหมายของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร และใครบ้างที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี รวมถึงเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนยื่นภาษีออนไลน์ มาติดตามไปพร้อมกันได้เลย
 

 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมสรรพากรให้คำอธิบายว่า หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือจากหน่วยงานภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งโดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่ได้รับจากปีใด ๆ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการด้วยตัวเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป หรือตามที่กรมสรรพากรกำหนด

โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จ่ายให้กับรัฐ จะถูกนำไปส่งเสริมและพัฒนาสวัสดิการสาธารณะ เช่น การสร้างถนน การพัฒนาการศึกษา หรือการจัดสวัสดิการสาธารณะอื่น ๆ ที่สำคัญ เพื่อให้สามารถสร้างสังคมที่มั่นคงและเป็นธรรมได้ การชำระภาษีเงินได้ไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่ของเป็นบุคคล แต่ยังเป็นการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่เจริญรุ่งเรืองและยั่งยืนในระยะยาวด้วย
 


บุคคลใดมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีบ้าง?

ตามกฏหมายประมวลรัษฏากร กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี โดยได้กำหนดหน่อยภาษีเงินได้ไว้ได้แก่

● บุคคลธรรมดา
● ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
● ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
● กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
● วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 
 

กำหนดยื่นภาษีได้ถึงวันไหน?

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมได้จะยื่นได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น คือวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี ส่วนคนที่ยื่นไม่ทันตามที่ประกาศต้องไปยื่นภาษีเงินได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาด้วยตัวเอง 
 

เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนยื่นภาษี

1. เอกสารแสดงรายได้อย่างหนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) ที่ออกโดยนายจ้าง ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุว่าปีที่ผ่านมามีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ อย่างไรบ้าง

2. รายการสำหรับลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว ได้แก่ คู่สมรส บุตร ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา ลดหย่อนภาษีผู้พิการ ค่าฝากครรภ์และทำคลอด เป็นต้น

3. เอกสารประกอบรายการลดหย่อนภาษีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น

● เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ, เบี้ยประกันแบบบำนาญ รวมถึงเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

● จำนวนเงินที่ซื้อกองทุนต่างๆ อาทิ กองทุนประกันสังคม, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF),กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX), กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

● เงินบริจาคที่รวมถึง เงินบริจาคทั่วไป, เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ, และเงินบริจาคพรรคการเมือง

● ลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการของรัฐ อาทิ ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย, ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการตามมาตรการช้อปดีมีคืน, หรือมาตรการลดหย่อนภาษีที่ทางรัฐบาลประกาศในแต่ละปี
 


สอนวิธียื่นภาษีออนไลน์ทุกขั้นตอนแบบละเอียด

  1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/

  2. เลือก "ยื่นแบบออนไลน์"

  3. กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสผ่าน และคลิก "เข้าสู่ระบบ"
    ○ กรณีไม่มีบัญชี ให้คลิก "สมัครสมาชิก" กรอกข้อมูลและสร้างรหัสผ่าน

  4. เลือกขอ รหัส OTP เพื่อยืนยันตัวตน

  5. เลือกยื่นแบบภ.ง.ด 90/91 และกดส่งแบบฟอร์ม
    ○ ภ.ง.ด. 90 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ถึง (8) หลายประเภทหรือประเภทเดียวโดยต้องยื่นแบบภายใน 31 มีนาคมของทุกปี

  6. เลือก “กรอกข้อมูลด้วยตนเอง”
    ○ เลือก”ใช้ข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับ” ในกรณีที่บริษัทหรือองค์กรที่สังกัดอยู่ส่งให้กรมสรรพากรแล้ว

  7. กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กด ถัดไป
    ○ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
    ○ ชื่อ-นามสกุล
    ○ วันเดือนปีเกิด
    ○ สถานที่ติดต่อ
    ○ ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี)
    ○ สถานะ

  8. กรอกข้อมูลรายได้ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กด ถัดไป
    ○ รายได้จากเงินเดือน
    ○ รายได้จากฟรีแลนซ์, รับจ้างทั่วไป
    ○ รายได้จากทรัพย์สิน, การทำธุรกิจ, อาชีพอิสระ
    ○ รายได้จากการลงทุน
    ○ รายได้จากมรดกหรือได้รับมา

  9. กรอกค่าลดหย่อนภาษี เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กด ถัดไป
    ○ ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
    ○ ลดหย่อนบุตร
    ○ อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (60 ปีขึ้นไป)
    ○ เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
    ○ อุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ
    ○ ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน
    ○ ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ
    ○ เงินบริจาค

  10. ตรวจสอบข้อมูล หากข้อมูลถูกต้องให้กด ถัดไปได้เลย
    ○ หากข้อมูลไม่ถูกต้องสามารถกดกลับไปแก้ไขได้

  11. เมื่อตรวจสอบข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว กด “ยืนยันการยื่นแบบ” ได้เลยเป็นอันเสร็จสิ้น
     

ทั้งนี้ รายการลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทนั้น ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวงเงินที่จำกัดไว้ของแต่ละรายการ หากปีที่ผ่านมาใครต้องจ่ายภาษีเยอะ แล้วอยากเริ่มต้นวางแผนภาษีในรอบปี 2567 นี้ใหม่ ลองศึกษากองทุนต่างๆ ข้างต้น หรือจะเลือกทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันแบบบำนาญไว้ก็ได้ เพราะไม่ได้ให้เพียงแค่ประโยชน์ทางภาษีเท่านั้น แต่ยังคุ้มครองตัวเองและปกป้องอนาคตของคนที่รักอีกด้วย สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : แบบประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี
 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ