ข้ามไปหน้าหลัก

สินไหมทางทะเลและขนส่ง

“วิธีปฏิบัติกรณีสินค้าเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย เมื่อสินค้าได้ส่งไปถึงจุดหมายปลายทางสุดท้าย หากพบว่าเกิดการสูญหาย หรือเสียหายให้ผู้เอาประกันภัย ดำเนินการดังต่อไปนี้”

เมื่อสินค้าที่เอาประกันภัยเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย

ซึ่งกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยหรือตัวแทนของบริษัทประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ทันที เพื่อทำการสำรวจตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น

ปกป้องสิทธิในการไล่เบี้ยต่อผู้กระทำละเมิด เช่น ผู้รับขนส่งทุก ๆ ทอด ดังนี้

1. ทำหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายไปยังผู้รับขนส่งเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบตราส่ง ให้ผู้รับขนส่งชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ขณะที่สินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งนั้น

2. ร้องขอรายงานการสำรวจความเสียหายต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน และเอกสารกำกับ ในการเรียกร้อง ต่อผู้กระทำละเมิดต่อไป เช่น รายงานสำรวจความเสียหายของการท่าเรือ แบบแสดงรายการสินค้าขาด สินค้าเกินของการท่าเรือ แบบแสดงรายการสินค้าเสียหาย เป็นต้น

3. ร้องขอให้มีการสำรวจความเสียหายร่วมกัน ระหว่างผู้ขนส่ง การท่าเรือและผู้เอาประกันภัย พร้อมทั้งขอรายงานนั้นด้วย พร้อมโดยทำเป็นหนังสือเรียกร้องให้ผู้รับขนส่งชดใช้ในความเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะที่สินค้า อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งนั้น

4. ต้องไม่เซ็นต์ชื่อในใบรับของ หากสงสัยว่าสินค้าอาจมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น พบว่าบรรจุภัณฑ์มีร่องรอย บุบ แตกร้าว หรือมีรอยขีดข่วน ควรตรวจดูความผิดปกติและทำการเปิดดูว่าเกิดความเสียหายจริงหรือไม่ หากพบว่าเสียหายให้เขียนบันทึกรายการความเสียหายที่ตรวจพบลงในใบรับสินค้านั้นด้วย

การป้องกันไม่ให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วนั้นลุกลามเพิ่มเติม

ผู้เอาประกันภัยควรดำเนินการตามสมควรเพื่อหยุดความเสียหายไม่ให้ลุกลามเพิ่มเติม เช่น กรณีที่พบว่าสินค้าเปียกน้ำเพียงบางส่วน ก็ให้รีบทำการแยกสินค้าที่เปียกออกจากสินค้าที่แห้ง แล้วทำการตากหรือ ผึ่งให้แห้งต่อไป ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินการตามสมควรเช่นว่า นี้สามารถเรียกร้องจากบริษัทได้ รวมทั้งรักษาสภาพสินค้าที่เสียหายแล้วนั้น ให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เช่นเก็บรักษาไว้ในโรงเก็บสินค้า โดยไม่ทิ้งไว้กลางแจ้ง เป็นต้น

เอกสารที่จำเป็นสำหรับประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กรณีขนส่งระหว่างประเทศ โดยทางเรือ ทางอากาศหรือทางไปรษณีย์

1. หนังสือเรียกร้องความเสียหายถึงบริษัทรับประกันภัย ( Claim Note)

2. หนังสือแจ้งความเสียหายถึงผู้ขนส่ง หรือผู้กระทำความเสียหายให้กับสินค้า (Notice to Carrier / Notice of Claim)

3. ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัย หรือใบรับรองการเอาประกันภัย (Original Marine Cargo Policy / Insurance Certificate)

4. ใบตราส่งสินค้าทางเรือ หรือทางเครื่องบิน (Bill of Lading or Airway Bill)

5. ใบกำกับราคาสินค้า (Invoice)

6. ใบแสดงน้ำหนักของสินค้า (Packing List)

7. รายงานการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่เสียหาย (QC report or NG report)

8. ใบรับสินค้าระบุความเสียหาย (Delivery Order )

9. รูปถ่ายสินค้า หรือหีบห่อที่เสียหาย

10. ใบสำรวจความเสียหายจากท่าเรือ หรือสายการบิน (ถ้ามี) (Wharf Survey Note or DMC)

11. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามสาเหตุความสูญเสีย/ความเสียหายที่เกิดขึ้น

เอกสารที่จำเป็นสำหรับประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีขนส่งภายในประเทศ

1. ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัย

2. ใบส่งของจากผู้รับขนส่ง และ/หรือใบกำกับสินค้า หรือใบส่งมอบอื่นๆ ที่เป็นมาตรฐานต้นฉบับ

3. สำเนารายงานประจำวันจากสถานีตำรวจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือเอกสารที่แสดงความรับผิดของผู้รับขนส่ง หรือคู่กรณีสำหรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

4. สำเนาทะเบียนรถ สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องของรถยนต์คันที่เกิดอุบัติเหตุ และคันคู่กรณี

5. ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินของผู้รับขนส่ง และสัญญาว่าจ้างการขนส่ง

6. หนังสือเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งมีการระบุจำนวนความเสียหาย

7. สำเนาหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับขนส่ง พร้อมหนังสือตอบรับของผู้รับขนส่ง สำหรับความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น

ระยะเวลาในการพิจารณาและชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทน

  1. การพิจารณาสินไหมภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน
  2. การชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน

ผลประโยชน์

  • สามารถซื้อกรมธรรม์แยกต่างหากได้
  • สามารถจัดโปรแกรมความคุ้มครองในระดับภูมิภาค หรือ ทั่วโลก
  • สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขความคุ้มครอง โดยการใช้แบบฟอร์มที่ครอบคลุม หรือกำหนดขึ้นใหม่เฉพาะราย
  • เครือข่ายของชับบ์ที่ครอบคลุมในกว่า 50 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา และแคนาดา
  • มีศักยภาพในการให้บริการคำปรึกษาด้านวิศวกรรมความเสี่ยงภัย
  • ให้ความคุ้มครองในวงเงินจำกัดความรับผิดสูงสุดถึง 50,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ