ข้ามไปหน้าหลัก

การโอนย้ายกิจการบางส่วนจาก เอซ ประเทศไทย แก่ บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย

  1. ชับบ์ คือใคร และใครคือผู้ถือหุ้นหลัก
    ในเดือนมกราคม 2559 เอซ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ได้เข้าซื้อกิจการของ ชับบ์ และได้ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านธุรกิจประกันภัยระดับโลก โดยดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อใหม่ว่าชับบ์ ซึ่งปัจจุบันดำเนินธุรกิจอยู่ใน 54 ประเทศทั่วโลก ทั้ง เอซ ประเทศไทย และ บมจ. ชับบ์สามัคคีประกันภัย เป็นบริษัทของชับบ์เหมือนกัน และดำเนินกิจการในประเทศไทยมานานกว่า 70 ปี

  2. ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการต่อ หรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับฉัน?
    หลังจากที่มีการโอนกิจการอย่างสมบูรณ์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนจะเปลี่ยนเป็น บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย

    ขอให้ท่านมั่นใจว่า หลังจากการโอนย้ายกิจการ บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย จะรับผิดชอบในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายใต้    ความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยของท่าน

  3. ฉันจะชำระเบี้ยประกันภัยอย่างไร?
    หากเดิมท่านชำระผ่านบัตรเครดิต ท่านไม่จำเป็นต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพียงแต่ท่านอาจสังเกตเห็นว่า ชื่อบริษัทที่รับ        เบี้ยประกันภัยของท่านในใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตจะเปลี่ยนเป็น บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย

    ถ้าท่านดำเนินการชำระเบี้ยประกันภัยผ่านการหักบัญชีโดยตรงกับธนาคาร  ท่านไม่ต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงใดๆ เนื่องจาก เอซ และ ชับบ์ ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทที่รับชำระเบี้ยประกันของท่านเรียบร้อยแล้ว

  4. ความคุ้มครองหรือ บริการต่างๆ ที่ฉันได้รับจะมีการหยุดชะงัก หรือไม่?
    การดำเนินงานระหว่าง บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย และ เอซ ประเทศไทย จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดชะงัก ไม่ว่ากรณีใดๆ

    การโอนย้ายกิจการของบริษัทฯ ครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการให้บริการลูกค้า ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของเรา

  5. การโอนย้ายกิจการของบริษัทฯ ครั้งนี้ จะมีผลกระทบกับฉัน และกรมธรรม์ของฉันที่ออกโดย เอซ ประเทศไทย อย่างไรบ้าง
    การโอนย้ายกิจการของบริษัทฯ ที่เกิดขึ้น ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อกรมธรรม์ของท่าน ตลอดจนความคุ้มครองที่ท่านได้รับ ซึ่ง บมจ.ชับบ์  สามัคคีประกันภัย จะรับโอน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดทั้งหมดตามกรมธรรม์ประกันภัยของท่าน อีกทั้งมีความยินดีเป็นผู้ให้      ความคุ้มครอง และให้บริการประกันภัยแก่ท่านแทน บ. เอซ ประเทศไทย

  6. ทำไม เอซ ประเทศไทย จึงดำเนินการโอนกิจการบางส่วนให้กับ บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย และการดำเนินการครั้งนี้ จะส่งผลกระทบอะไรกับฉันบ้าง
    บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย และ เอซ ประเทศไทย จะดำเนินการโอนย้ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยส่วนบุคคล และอุบัติเหตุและสุขภาพ ให้แก่ บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย ซึ่งในการดำเนินการครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯ สามารถมอบบริการที่ดียิ่งขึ้น พร้อมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของคุณได้อย่างดีมากขึ้นอีกด้วย

  7. บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัยจะจัดส่งกรมธรรม์ประกันภัยใหม่มาให้ฉันหลังจากการโอนย้ายหรือไม่?
    กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิมของท่านยังมีผลบังคับใช้ได้เช่นเดิม จึงไม่มีความจำเป็นในการจัดทำกรมธรรม์ใดๆ ใหม่ โดย บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อกรมธรรม์ของท่านมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป

  8. ฉันทำเล่มกรมธรรม์ประกันภัยสูญหาย สามารถขอใหม่ได้หรือไม่
    บริษัทฯสามารถออกสำเนากรมธรรม์ใหม่ให้คุณได้ แต่จะเป็นฉบับเดิมที่คุณได้รับในนามของ เอซ ประเทศไทย โดยภายหลังจากวันที่ 1 ธันวาคม ทาง บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย จะเป็นผู้ดูแลกรมธรรม์ประกันภัยของท่านแทน ในกรณีที่ท่านต่ออายุกรมธรรม์ หรือซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่ กรมธรรม์ของท่านจะถูกออกให้โดยนาม บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย

  9. จะมีการเปลี่ยนแปลงของรายชื่อสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในความคุ้มครองหรือไม่ หลังจากการโอนย้ายกิจการ
    รายชื่อสถานพยาบาลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

  10. ภายหลังจากการโอนย้ายกิจการ ค่าสินไหมที่เป็นเช็คและออกโดย เอซ ประเทศไทย ยังมีผลใช่หรือไม่
    เช็คที่ได้รับยังสามารถใช้งานได้ตามปรกติ โดยจะมีอายุการใช้งาน 6 เดือนหลังจากวันออกเช็ค

  11. ในกรณีที่ลูกค้าติดต่อ บมจ. ชับบ์สามัคคีประกันภัย เพื่อทำการยกเลิกกรมธรรม์ที่ออกโดย เอซ ประเทศไทย ยอดที่ทำการยกเลิกนั้นยังคงเดิมใช่หรือไม่
    ยอดที่ทำการยกเลิกนั้นยังคงเดิม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ออกโดย เอซ ประเทศไทย

  12. การโอนย้ายกิจการจะเสร็จสิ้นเมื่อใด
    บริษัทฯ ตั้งใจที่จะทำการโอนย้ายกิจการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2559

  13. จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของแบบคำร้องสินไหมทดแทนหรือไม่
    ในส่วนของเนื้อหาและข้อความในแบบคำร้องสินไหมทดแทนนั้นยังคงเดิม เพียงแต่รูปแบบจะถูกเปลี่ยนไปเป็นตามแบบ บมจ. ชับบ์สามัคคีประกันภัย

  14. ถ้าฉันต้องการเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ ฉันสามารถติอต่อได้ที่เบอร์ใด
    คุณสามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้า โทร 02-611-4000 วันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

  15. ถ้าฉันต้องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ฉันสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่เบอร์ใด
    คุณสามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้า โทร 02-611-4000 วันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

คำถามที่พบบ่อย

  1. คำถาม บริษัทฯ ต้องการเอกสารอะไรบ้าง เพื่อประกอบการพิจารณาค่าสินไหมทดแทน? 
    ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูรายละเอียดได้ที่คำแนะนำในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

  2. คำถาม บริษัทฯ ใช้เวลาในการพิจารณาและจ่ายสินไหมภายในกี่วัน?
    บริษัทฯ ใช้เวลาประมาณ 15 วันทำการ หลังจากได้รับเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว

  3. คำถาม ทำไมบริษัทฯ ต้องขอประวัติการรักษาทางการแพทย์ ?
    ในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ ถือครองกรมธรรม์น้อยกว่า 1 ปี และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการของโรคเรื้อรังใด ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เนื้องอก เป็นต้น บริษัทฯ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบว่าผู้ถือกรมธรรม์เคยเข้ารับการรักษาอาการของโรคดังกล่าว ก่อนที่กรมธรรม์จะเริ่มมีผลบังคับหรือไม่ เนื่องจากสภาพทางการแพทย์ที่เป็นก่อนการทำประกันเป็นข้อยกเว้นหลักของกรมธรรม์

  4. คำถาม ในกรณีการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยใช้สิทธิ์ประกันสังคม หรือ สิทธิ์ข้าราชการ ผู้ถือกรมธรรม์สามารถเรียกร้องค่าชดเชยผลประโยชน์รายวันภายใต้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ได้หรือไม่ และเอกสารใดบ้างที่บริษัทฯ ต้องการเพื่อใช้แทนใบเสร็จรับเงิน ?
    ผู้ถือกรมธรรม์สามารถเรียกร้องค่าชดเชยรายวัน กับทางบริษัทฯ ได้ โดยต้องนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้แทนใบเสร็จรับเงิน
    สำเนาเอกสารรับรองสิทธิ์ เช่น สำเนาบัตรประกันสังคม สำเนาบัตรข้าราชการ หนังสือรับรองสิทธิ์ เป็นต้น ใบรับรองแพทย์ ระบุรายละเอียดของการเจ็บป่วย และ วันที่เข้าและออกจากโรงพยาบาล

  5. คำถาม ในกรณีผู้ถือกรมธรรม์เรียกร้องค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทฯ อื่น แต่ได้รับการชดใช้เพียงบางส่วน ผู้ถือกรมธรรม์สามารถใช้สิทธิ์ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ เบิกค่ารักษาพยาบาลส่วนต่างกับทางบริษัทฯ ได้อย่างไร ?
    ผู้ถือกรมธรรม์ต้องขอให้บริษัทฯ ดังกล่าวทำการรับรองในใบเสร็จรับเงินฉบับจริงว่าได้จ่ายค่ารักษาฯ ไปเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ นำส่งมายังบริษัทฯ เพื่อพิจารณาตามเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ต่อไป

  6. คำถาม ในกรณีผู้ถือกรมธรรม์เรียกร้องค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทฯ อื่น และได้รับการชดใช้ครบถ้วนแล้ว ผู้ถือกรมธรรม์สามารถใช้สิทธิ์ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ เบิกค่ารักษาพยาบาล กับทางบริษัทฯ ได้หรือไม่ ?
    ไม่สามารถเรียกร้องได้ เนื่องจากผู้ถือกรมธรรม์มีสิทธิ์ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมฯ ไม่เกินกว่าจำนวนเงินค่ารักษาที่ได้จ่ายไปจริงเท่านั้น

  7. คำถาม ในกรณีสินไหมมรณกรรม ถ้าผู้ถือกรมธรรม์ ถือครองกรมธรรม์มากกว่า 1 ฉบับ ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับค่าสินไหมทุกกรมธรรม์หรือไม่ ?
    ถ้าสาเหตุของการเสียชีวิตได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมทุกกรมธรรม์

  8. คำถาม บริษัทฯ มีวิธีการในการจ่ายค่าสินไหมฯ อย่างไร ?
    บริษัทฯ จะสั่งจ่ายเช็คค่าสินไหมฯ ในนามของผู้ถือกรมธรรม์ และจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในแบบเรียกร้องค่าสินไหม

  9. คำถาม เมื่อได้รับเช็คค่าสินไหมฯ แล้ว ผู้ถือกรมธรรม์ควรทำอย่างไร ?
    บริษัทฯ ขอให้ผู้ถือกรมธรรม์ลงนามในส่วนที่ 1 และนำส่งมายังบริษัทฯ ในซองธุรกิจตอบรับที่ได้แนบไปพร้อมกับเช็ค เก็บส่วนที่ 2 ไว้เป็นหลักฐาน และ นำส่วนที่ 3 ไปเข้าบัญชีของผู้ถือกรมธรรม์

  10. คำถาม บริษัทฯ สามารถจ่ายค่าสินไหมฯ ผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ถือกรมธรรม์ได้หรือไม่ ?
    บริษัทฯ ตระหนักดีถึงความสำคัญในการบริการเพื่อความพอใจและผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า และจะนำข้อเสนอแนะนี้มาพิจารณาต่อไป