1. มีประกันบำนาญที่จ่ายเบี้ยฯ ระยะสั้นที่มีผลตอบแทนคุ้มค่าไหม ?
ชับบ์ ไลฟ์ มีแบบประกันที่ตอบโจทย์หลากหลายแผนให้เลือก โดยหากต้องการจ่ายเบี้ยฯ ระยะสั้น ขอแนะนำ ประกันบำนาญ แอนนิวตี้ เรดดี้ ที่ชำระเบี้ยฯ เพียง 5 ปี (บำนาญแบบลดหย่อนได้)
● รับเงินบำนาญสูงสุด 31 งวด ปีละ 15% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ตั้งแต่ปีที่ครบอายุ 60 ปี จนถึง 90 ปี รวมรับบำนาญสูงสุด 465% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
● จ่ายเบี้ยสั้น เพียง 5 ปี
● รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตก่อนรับเงินบำนาญ โดยบริษัทฯ จะจ่าย 105% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด หรือเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า
● ไม่ต้องตรวจและตอบคำถามสุขภาพ
● รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 300,000 บาท กรณียังไม่ใช่สิทธิลดหย่อนภาษีตามกรมธรรม์อื่นใด สามารถนำเบี้ยประกันภัยของแบบประกันนี้ตามที่จ่ายจริงมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร (อ่านรายละเอียด)
2. ทำไมต้องทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ?
เพราะประกันชีวิตแบบบำนาญจะช่วยเป็นหลักประกันว่าคุณจะมีเงินไว้ใช้ยามเกษียณ และยังเป็นหลักประกันที่มั่นคงสำหรับคนที่คุณรัก หากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น ด้วยประกันบำนาญเพิ่มสุข ที่ช่วยให้คุณมีรายรับอย่างมั่นคง อุ่นใจว่าคุณจะมีเงินไว้ใช้ทุกปีตามที่วางแผนไว้
3. ประกันชีวิตแบบบํานาญ กับ ประกันสะสมทรัพย์ ต่างกันอย่างไร ?
ประกันชีวิตแบบบำนาญเน้นให้ผลประโยชน์หลังเกษียณเป็นหลัก โดยบริษัทประกันชีวิตจะเริ่มจ่ายเงินคืนตามกรมธรรม์ให้ตั้งแต่เมื่อครบอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี หรือหลังเกษียณ และจะมีการจ่ายต่อเนื่องเป็นงวด ๆ ตามสัญญาประกันภัยไปจนกว่าจะครบกำหนด ส่วนประกันสะสมทรัพย์ มุ่งเน้นให้ผลตอบแทนในระหว่างสัญญาหรือเมื่อครบกำหนดสัญญา พร้อมทั้งให้ความคุ้มครองชีวิตด้วยเช่นกัน โดยมากระยะเวลาความคุ้มครองจะไม่ยาวนัก เช่น 5 ปี 10 ปี 20 ปี แต่ก็มีที่ให้ความคุ้มครองจนครบอายุ 60 ปี โดยผลตอบแทนที่จ่ายคืนผู้เอาประกันภัย ในกรณีมีชีวิตอยู่ มักจะมีกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะจ่ายเมื่อครบปีกรมธรรม์ที่เท่าไหร่บ้าง ซึ่งจะมีทั้งที่ “กำหนดจำนวนเงินที่แน่นอน” หรืออยู่ในลักษณะ “เงินปันผล” ที่จะแปรผันไปตามผลการลงทุนของบริษัทในขณะนั้น
4. ทำประกันบำนาญ คุ้มค่าแค่ไหน และเหมาะกับใคร ?
ประกันบำนาญเหมาะสำหรับคนที่ต้องการเตรียมเงินไว้ใช้ในช่วงเกษียณอายุ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอในอนาคตเมื่อไม่ได้ทำงานอีกต่อไป ส่วนจะมีความคุ้มค่าแค่ไหนขึ้นอยู่แต่ละบุคคลว่ามีเป้าหมายทางการเงินอย่างไร
5. สนใจวางแผนเกษียณด้วยประกันชีวิตแบบบำนาญควรเริ่มต้นอย่างไร ?
สามารถเริ่มได้จาก
1. กำหนดเป้าหมายทางการเงิน ว่าหลังเกษียณคุณต้องการมีรายได้ต่อเดือนเท่าไรถึงมีเงินใช้เพียง พอในชีวิตประจำวัน โดยคำนวนจากค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ x 12 เดือน x ปีที่จะมีชีวิตอยู่ ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 30,000 x 12 เดือน x 20 ปี = 7,200,000 บาท เป็นต้น
2. ศึกษาและเลือกแผนประกันที่เหมาะสม เพราะปัจุบันมีแผนประกันชีวิตแบบบำนาญให้เลือกมากมาย
3. คำนวนเบี้ยประกัน ที่ต้องจ่ายต่อเดือนหรือต่อปีเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
4. เลือกเวลาคุ้มครอง ที่เหมาะสมสำหรับคุณ เช่น จำนวนปีที่ต้องการจ่ายเบี้ยประกันและช่วงเวลาที่ต้องการรับผลประโยชน์เงินคืน
5. ปรับปรุงและตรวจสอบแผนเป็นระยะเวลา ตรวจสอบและปรับแผนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าคุณสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินเมื่อเกษียณได้
6. ประเมินสถานะการเงินของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังเดินทางสู่เป้าหมายการเกษียณได้อย่างมั่นคงตามที่ต้องการ
6. ประกันบำนาญลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ?
สำหรับแบบประกัน แอนนิวตี้ เรดดี้ รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 300,000 บาท กรณียังไม่ใช่สิทธิลดหย่อนภาษีตามกรมธรรม์อื่นใด สามารถนำเบี้ยประกันภัยของแบบประกันนี้ตามที่จ่ายจริงมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร (อ่านรายละเอียด)
7. หากเสียชีวิตก่อนได้รับเงินประกันบำนาญจะได้รับอะไร ?
ขึ้นอยู่กับสัญญาประกันภัยที่ได้ทำไว้ สำหรับ ชับบ์ ไลฟ์ มีแบบประกัน บำนาญเพิ่มสุข (บำนาญแบบลดหย่อนได้ ที่รับรองการจ่ายเงินบำนาญ 20 งวด หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนที่จะได้รับเงินบำนาญครบ 20 งวด โดยบริษัทจะจ่ายมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญตามจำนวนงวดที่เหลือให้ในครั้งเดียว ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
8. เงินที่ได้จากประกันบำนาญ ต้องเสียภาษีไหม ?
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากประกันบำนาญทั้งหมด รวมถึงประกันภัยอื่น ๆ ไม่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ เบี้ยประกันที่จ่าย ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด ถึง 300,000 บาท
9. การทำประกันบำนาญไม่เหมาะกับใคร ?
การทำประกันบำนาญไม่เหมาะกับบุคคลที่มีเป้าหมายทางการเงินระยะสั้น หรือมุ่งหวังในการรับผลตอบแทนทันที เนื่องจากประกันบำนาญมีลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ซึ่งเริ่มให้ผลตอบแทนในลักษณะบำนาญหลังเกษียณ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับคนที่ต้องการเงินใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ
10. ประกันบำนาญต้องตรวจสุขภาพไหม ?
ไม่ต้องตรวจและตอบคำถามสุขภาพ