ฟอกไต วิธีรักษาโรคไตเรื้อรังที่ควรเข้าใจ
โรคเกาต์เป็นภาวะที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวด บวม และอักเสบอย่างรุนแรง โดยมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แม้ว่าการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเกิดโรค แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม โรคประจำตัว และการดำเนินชีวิต
บทความนี้จะอธิบายถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการวินิจฉัยโรคเกาต์ รวมถึงแนวทางการรักษาและการป้องกันตามหลักการแพทย์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกาต์ และรู้วิธีจัดการเมื่อมีอาการกำเริบ
โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัยเกิดจาก กรดยูริก ในเลือดสูงลักษณะเด่นของโรคคืออาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้อต่อ โดยมักเกิดขึ้นที่โคนนิ้วหัวแม่เท้าอย่างรุนแรงจนตื่นกลางดึก ราวกับถูกไฟช๊อต ระดับความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่ รุนแรงน้อย ปานกลาง และรุนแรงมาก แต่สามารถควบคุมและป้องกันได้
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบ โดยมักเกิดขึ้นในข้อเข่า ข้อเท้า หรือข้อนิ้วมือ อาการบวมและปวดอาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงกลางคืน ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อลำบากและเจ็บปวดส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอาการเจ็บปวดมักเกิดขึ้นอย่างรุนแรงที่สุดในช่วง 4-12 ชั่วโมงแรกในช่วงเริ่มต้นของโรค และหากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างเหมาะสม อาการอักเสบอาจกลายเป็นรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดบ่อยขึ้นและระยะเวลาที่ปวดยาวนานขึ้น อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคข้ออักเสบเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคไต และนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเกาต์ คือการสะสมของกรดยูริกในเลือดซึ่งเกิดจากการสร้างกรดยูริกมากขึ้นหรือการขับกรดยูริกออกจากร่างกายน้อยลง ส่งผลให้เกิดการสะสมของผลึกยูริกในข้อต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคเกาต์ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเกาต์ ได้แก่ การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารเพียวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องใน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาวะสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล การรักษาและการป้องกันโรคเกาต์ เกี่ยวข้องกับการควบคุมปัจจัยเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับร่างกาย
การวินิจฉัยโรคเกาต์นั้น แพทย์จะใช้วิธีต่างๆ ร่วมกัน โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ ผลการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะวินิจฉัยโรคเกาต์ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
การซักประวัติและตรวจร่างกาย: แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติครอบครัว และตรวจดูรอยช้ำ บวม แดง ร้อน บริเวณข้อที่ผู้ป่วยมีอาการ
การตรวจน้ำไขข้อ: แพทย์จะทำการเจาะน้ำในข้อที่มีอาการออกมาตรวจหาผลึกของเกลือกรดยูริก (monosodium urate crystals) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ วิธีนี้ถือเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคเกาต์
การตรวจเลือด: แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือด ระดับกรดยูริกในเลือดที่สูงอาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อโรคเกาต์ แต่ไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์เสมอไป
การตรวจภาพรังสี: แพทย์อาจสั่งตรวจเอกซเรย์ข้อที่มีอาการเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ ของการอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อเสื่อม
การตรวจอัลตราซาวด์: แพทย์อาจใช้การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูว่ามีผลึกเกลือยูเรตสะสมอยู่ในข้อต่อหรือไม่
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ DECT (Dual energy CT scan): แพทย์อาจใช้การตรวจ DECT ซึ่งเป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบพิเศษที่สามารถแยกแยะผลึกเกลือยูเรตออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้ วิธีนี้มีประโยชน์ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อเรื้อรัง หรือสงสัยว่ามีก้อนผลึกเกลือยูเรตสะสมอยู่ในข้อต่อ
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่มีกรดยูริกสูงที่เป็นสาเหตุ และรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง เป็นส่วนสำคัญในการรักษาโรคเกาต์ ช่วยให้อาการบรรเทาลง และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เครื่องในสัตว์ทุกชนิด เนื่องจากมีปริมาณไขมันสูงและอาจกระตุ้นการสร้างกรดยูริก
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท เช่น เบียร์ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขับยูริคลดลง
ถั่วเมล็ดแห้ง เพราะมีพิวรีนสูงที่อาจกระตุ้นการสร้างกรดยูริก
อาหารที่มีการหมักและมีการใช้ยีสต์ เช่น เต้าเจี้ยว เนื่องจากยีสต์อาจเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริก
เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้ เนื่องจากมียูริกสูง
ส่วนบนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีนหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน และชะอม
การปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมอาหารดังกล่าวช่วยให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ลดการเกิดอาการอักเสบและรักษาสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
การรักษาโรคเกาต์ มุ่งเน้นไปที่ 2 เป้าหมายหลัก ๆ ดังนี้
1. ลดระดับกรดยูริกในเลือด
ยาละลายกรดยูริก: ยากลุ่มนี้จะช่วยละลายผลึกกรดยูริกในข้อต่อและขับออกทางปัสสาวะ
ยาขับกรดยูริก: ยากลุ่มนี้จะช่วยขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
ยาปรับยูริก: ยากลุ่มนี้จะช่วยลดการสร้างกรดยูริกในร่างกาย
2. บรรเทาอาการปวดและการอักเสบ
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs): ยาในกลุ่มนี้ เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้ดี
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์: ยาในกลุ่มนี้ เช่น พรีดนิโซน มักใช้ในระยะสั้นเพื่อลดอาการปวดและการอักเสบที่รุนแรง
ยาฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์: แพทย์อาจฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าที่ข้อที่อักเสบเพื่อลดอาการปวดและการอักเสบได้อย่างรวดเร็ว
การรักษาโรคเกาต์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายผู้ป่วยโรคเกาต์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดข้อและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
การป้องกันโรคเกาต์ทำได้ดังนี้
1. ปรับพฤติกรรมการทาน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง: เช่น เนื้อสัตว์เครื่องใน สัตว์ปีกบางชนิด ปลาบางชนิด ถั่วบางชนิด อาหารทะเลบางชนิด แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์
ทานอาหารที่มีใยอาหารสูง: ผัก ผลไม้ ธัญพืช
ดื่มน้ำเปล่า อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
ลดน้ำหนักหากน้ำหนักตัวเกิน
จำกัดการทานอาหารที่มีฟรุกโตสสูง: น้ำหวาน น้ำอัดลม
2. ควบคุมระดับกรดยูริกในเลือด
ทานยาตามแพทย์สั่ง: ยาละลายกรดยูริก ยาขับกรดยูริก ยาปรับยูริก
งดสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อการรักษาโรคเกาต์
ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย: การดื่มแอลกอฮอล์กระตุ้นการสร้างกรดยูริก
3. ดูแลสุขภาพโดยรวม
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: อย่างน้อย 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
จัดการความเครียด เพราะความเครียดสามารถกระตุ้นการเกิดโรคเกาต์ได้
การป้องกันโรคเกาต์ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเกาต์ เช่น หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเกาต์ ควรหมั่นตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการป้องกันโรค
ถ้าผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างมาก โรคที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้:
โรคไต: การสะสมของกรดยูริกในร่างกายอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังหรือโรคไตในระยะต่าง ๆ ซึ่งอาจต้องใช้การตรวจสอบและรักษาอย่างใกล้ชิด
นิ่วในทางเดินปัสสาวะ: กรดยูริกสามารถสะสมในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเก็บตัวเป็นก้อนหรือนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้
ภาวะไตวายเฉียบพลัน: อาจเกิดจากการขับกรดยูริกออกจากไตอย่างรวดเร็ว มักพบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
ภาวะไตวายเรื้อรัง: การสะสมของกรดยูริกในเนื้อไตอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงและต้องการการรักษาพิเศษ
นอกจากนี้ยังมีโรคร่วมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคเกาต์ เช่น ภาวะอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้ด้วย
โรคเกาต์เป็นภาวะที่สามารถควบคุมได้ด้วยการรักษาและป้องกันที่เหมาะสม การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งในด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาตามที่กำหนด การดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการกำเริบ แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม ผู้ป่วยควรติดตามอาการและพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
การให้ความสำคัญกับการป้องกันและการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ส่งผลให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติและมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มาทำให้แผนการใช้ชีวิตไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ เพราะค่ารักษาพยาบาลที่ไม่คาดคิดอาจสร้างปัญหาให้กับเงินออมและแผนการใช้ชีวิตได้ ให้ประกันสุขภาพจาก ชับบ์ ไลฟ์ ช่วยดูแลด้วยแบบประกันสุขภาพคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและผ่าตัด ประกันชดเชยรายได้ และประกันโรคร้ายแรงมอบความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม เพื่อปกป้องผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเจ็บป่วย และต้องรักษาตัว
ที่มา
ฟอกไต วิธีรักษาโรคไตเรื้อรังที่ควรเข้าใจ
โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน จุดเริ่มต้นสารพัดโรคที่ไม่ควรมองข้าม
คลายข้อสงสัย โรคไตเกิดจากอะไร? รู้เร็ว รักษาทัน ป้องกันไตเสื่อม
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ