ข้ามไปหน้าหลัก
การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

เตรียมพร้อมเพื่อสุขภาพจิตที่ดีของว่าที่คุณแม่มือใหม่

10/2024
pregnant woman sitting

สถานการณ์สำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์นั้นได้ชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากแล้ว แต่เมื่อคลอดลูกน้อยออกมา สารพันความเปลี่ยนแปลงอีกมากมายยังคงมีเข้ามาไม่หยุด ด้วยฮอร์โมนหลังคลอดที่ยังไม่เข้าที่และยังต้องอดหลับอดนอนเพื่อดูลูกเล็กอีก ทำให้เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่เหนื่อยทั้งกายและท้อใจได้อย่างมาก นำมาซึ่งสุขภาพจิตที่ถดถอยตามไป ดังนั้นควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือหลังคลอดสำหรับว่าที่คุณแม่ ได้แก่
 

สถานการณ์สำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์นั้นได้ชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากแล้ว แต่เมื่อคลอดลูกน้อยออกมา สารพันความเปลี่ยนแปลงอีกมากมายยังคงมีเข้ามาไม่หยุด ด้วยฮอร์โมนหลังคลอดที่ยังไม่เข้าที่และยังต้องอดหลับอดนอนเพื่อดูลูกเล็กอีก ทำให้เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่เหนื่อยทั้งกายและท้อใจได้อย่างมาก นำมาซึ่งสุขภาพจิตที่ถดถอยตามไป ดังนั้นควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือหลังคลอดสำหรับว่าที่คุณแม่ ได้แก่
 

1. เตรียมโภชนาการที่ดีสำหรับคุณแม่และทารก

ช่วงการตั้งครรภ์ 3-4 เดือนแรกเป็นระยะสำคัญที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะต่าง ๆ จึงต้องการสารอาหารครบถ้วน คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน ให้ครบ 5 หมู่ต่อวัน ในช่วงต่อมา 5 เดือนก่อนคลอดควรเพิ่มปริมาณอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของทารก โดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียม ซึ่งสามารถได้จากเนื้อสัตว์ ผักใบเขียว และนม อีกทั้งควรลดการบริโภคอาหารที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน เป็นต้น 
 

2. เตรียมพร้อมรับมือกับอาการ Baby Blue

หรืออาการซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปสำหรับคุณแม่ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และหากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สร้างความกดดันและความเครียดด้วยแล้ว จะยิ่งไปกระตุ้นให้ภาวะรุนแรงเพิ่มขึ้น เราสามารถเตรียมรับมือได้ด้วยการประเมินสถานการณ์และวางแผนไว้แต่เนิ่นๆ ในสิ่งที่ทำได้ เช่นบอกคุณพ่อให้รู้ตัวก่อนว่าหลังคลอดอารมณ์อาจแปรปรวน ให้มองข้ามอารมณ์ของคุณแม่ไปและเลือกใช้คำพูดเพื่อให้กำลังใจแทน ที่สำคัญพฤติกรรมไหนที่คุณแม่ไม่ชอบ อย่าลืมบอกคุณพ่อเอาไว้ก่อน จะได้ไม่รู้สึกเก็บไปคิดในช่วงหลังคลอดที่จิตใจกำลังอ่อนแอ
 

3. หาผู้ช่วยสำรอง

มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยเลยที่รับหน้าที่ทำงานทุกอย่างในบ้าน รวมทั้งดูแลผู้ใหญ่ในครอบครัว ทั้งเรื่องอาหาร ซักเสื้อผ้า ทำความสะอาดบ้าน และอื่นๆ แต่บทบาทนี้คงต้องตัดไปทันที เมื่อคุณแม่มีอีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ ให้ต้องดูแล ดังนั้น ให้คุยกับคุณพ่อและครอบครัวให้เรียบร้อยว่าหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ ที่คุณแม่เคยทำ ใครจะช่วยดูในระหว่างนี้ อย่ารู้สึกเกรงใจเมื่อต้องร้องขอให้ใครช่วยเหลือ เพราะผู้ใหญ่ในครอบครัวทุกท่านอยากเข้ามาช่วยคุณแม่มือใหม่กันทั้งนั้น

4. เตรียมเมนูอาหารหลังคลอด

นอกจากต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแล้ว ยังเจอกับความกดดันจากญาติผู้ใหญ่ในเรื่องของอาหารการกินเพื่อเรียกน้ำนม ต้องรับประทานอาหารเมนูซ้ำๆ อย่างหมูผัดขิง ยำหัวปลี หรือแกงเลียง ตามที่คนในบ้านสรรหามาให้เพื่อบำรุง แม้จะอยากทานอย่างอื่นแต่เพราะเข้าครัวเองไม่ได้เลยไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้มากนัก ซึ่งหากไม่อยากตกอยู่ในสภาวะดังกล่าว ให้คุณแม่ทำลิสต์อาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่และอยากทานไว้ล่วงหน้าให้คนที่บ้านได้ช่วยจัดเตรียม

5. เตรียมเลี้ยงลูกหลังลาคลอด

เมื่อวันลาหยุดหมดลง คุณพ่อคุณแม่หลายคนแม้จะอยู่ในครอบครัวที่มีคุณย่าหรือคุณยายอยู่ร่วมด้วย แต่ด้วยอายุและการเลี้ยงดูที่อาจจะไม่ใช่ในแบบที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ต้องการ ทำให้ต้องหาพี่เลี้ยงเข้ามารับหน้าที่นี้แทน ซึ่งในปัจจุบันมีศูนย์จัดหาพี่เลี้ยงให้เลือกมากมาย ดังนั้น คุณแม่สามารถติดต่อเพื่อพบเจอพี่เลี้ยงก่อนคลอดล่วงหน้าได้ ช่วยลดความกังวลใจไปได้อีกทาง แต่ที่สำคัญก่อนตัดสินใจจ้างพี่เลี้ยง อย่าลืมบอกผู้ใหญ่ในบ้านเรื่องความจำเป็นด้วย ไม่เช่นนั้นพวกท่านจะเกิดอาการน้อยใจได้ เพราะหลานใครใครก็อยากเลี้ยงเอง
 

6. เตรียมประกันสำหรับลูก

อีกหนึ่งทางที่ช่วยคลายความกังวลใจกับภาระค่าใช้จ่ายเมื่อลูกน้อยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล นั่นคือการเลือกทำประกันสุขภาพ และประกันสะสมทรัพย์ที่จะช่วยทำให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่าอนาคตของลูกรักจะมั่นคงอย่างที่ได้วางแผนไว้ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถศึกษาและมองหาแบบประกันที่เหมาะสมไว้ได้แต่เนิ่นๆ และเริ่มทำเมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก  
 

7. เตรียมเรียนรู้ภาษาลูกน้อย

การเรียนรู้ภาษาทารกเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่ เพราะช่วยให้เข้าใจความต้องการของทารกได้ง่ายขึ้น การทราบความหมายของเสียงร้องและท่าทางจะช่วยให้คุณแม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกได้อย่างถูกต้อง สิ่งนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณแม่และลูก
 

การเตรียมพร้อมสำหรับคุณแม่มือใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเครียดและความกังวลในช่วงหลังคลอด การดูแลโภชนาการ การรับมือกับอารมณ์แปรปรวน การจัดการภาระงานบ้าน และการเตรียมอาหารหลังคลอดล้วนเป็นสิ่งที่ควรวางแผนล่วงหน้า นอกจากนี้การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของลูกน้อยก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน การทำประกันสุขภาพและประกันสะสมทรัพย์สำหรับลูกเป็นวิธีที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและเป็นเงินออมสำหรับอนาคตของลูก


สุดท้าย การเรียนรู้ภาษาทารกจะช่วยให้คุณแม่เข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกได้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างแม่ลูก ทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่สามารถก้าวผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ไปได้อย่างราบรื่น พร้อมกับมีความมั่นใจในการดูแลลูกน้อยและวางแผนอนาคตที่มั่นคงสำหรับครอบครัว  
 
 

บทความ

8 วิธีสอนลูกออมเงินอย่างสนุก ปลุกจิตสำนึกรักการออม

วัยเด็กเป็นวัยเรียนรู้ ดังนั้นหากครอบครัวต้องการปลูกฝังให้ลูก หรือเด็กๆ ในบ้านรู้จักใช้เงิน ควรเริ่มทำตั้งแต่วัยนี้เพื่อที่เมื่อโตขึ้นเขาจะได้มีนิสัยและวินัยที่ดีในการใช้จ่าย

เริ่มต้นอย่างไร? 4 ขั้นตอนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก

แม้ภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากคุณแม่ในขณะที่ยังอยู่ในครรภ์ จะช่วยทำให้ทารกสามารถต้านทานโรคต่างๆ ได้ แต่ภูมิต้านทานนี้จะค่อยๆ ลดลงเรื่อย ๆ ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด จึงจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ทดแทน

เลือกประกันชีวิตแบบไหนดีที่เหมาะสมกับตัวเอง

เพื่อให้เข้าใจคำว่าประกันชีวิตสำหรับผู้ที่กำลังสนใจและหาข้อมูลอยู่ในขณะนี้ หน้าที่หลักของประกันคือ “การโอนถ่ายความเสี่ยง”



 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

เลือกแบบประกันชีวิตจากชับบ์ ไลฟ์ ตามช่วงชีวิตของคุณ